กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ประชาชนร่วมใจ พัฒนาชุมชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5251-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขต
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 75,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโนศรียา ราชาวนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ในปี 2561 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเข้ารับการรักษา จำนวน 76,936 ราย เสียชีวิต 103 ราย โดยจังหวัดสงขลามีผู้ป่วย 1,779 ราย เสียชีวิต 3 ราย(อ.หาดใหญ่ 2/สิงหนคร 1) ในพื้นที่อำเภอสะเดามีผู้ป่วย 173 ราย (ที่มา ระบบสารสนเทศโรคที่ต้องเฝ้าระวังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา:29 พฤศจิกายน 2561) ตำบลสำนักขาม เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 3 ธันวาคม 2561 จำนวน 21 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน และเทศบาลตำบลสำนักขาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลสำนักขาม พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 10 และไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
1.00
2 ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียนและวัดมัสยิด
  1. โรงเรียน วัดและมัสยิดสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในทุกโรงเรียนให้ครอบคลุมร้อยละ 100 โดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI = 0)   2. ชุมชน สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมไม่น้อยละ 90 โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (HI ไม่เกิน 10)
1.00
3 ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี
  1. ร้อยละ 100 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน    โรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี
1.00
4 4. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 570 81,750.00 3 81,750.00
1 ก.พ. 62 ชี้แจงกิจกรรมและให้ความรู้ 190 4,750.00 4,750.00
1 ก.พ. 62 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ 190 18,500.00 18,500.00
1 ก.พ. 62 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 190 58,500.00 58,500.00

๑. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนงานโครงการ 1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่หน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและ อสม.ทุกหมู่บ้าน
๒. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาล โรงเรียน ชุมชน ผู้นำชุมชนและศาสนาและภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมกันวางแผนดำเนินการ 2.2 จัดตั้งแกนนำเครือข่ายและปฏิบัติการเฝ้าระวังโรคในชุมชน 2.3 เตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 2.4 ชี้แจงกิจกรรมและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่มแกนนำ 2.5 ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้ประชาชนทุกหลังคาเรือน 2.6 ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและรณรงค์ให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย     2.6 รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำ ผู้นำชุมชน/ศาสนา
และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) โดยวิธี       2.6.1 ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน โรงเรียนและวัดมัสยิด         2.6.2 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน โรงเรียน/วัดมัสยิด โดยแกนนำในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และประสานเทศบาลตำบลสำนักขามพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด       ๓. แกนนำลงติดตามและสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสองเดือนร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ       4. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ๒. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก   ๓. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียน และวัดมัสยิดให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 13:00 น.