กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ รณรงค์ ป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่พนักงานบริการหญิงและบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลสำนักขาม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รณรงค์ ป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่พนักงานบริการหญิงและบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลสำนักขาม
รหัสโครงการ 62-L5251-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครพัฒนาด่านนอก
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 215,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว ไหมดีหน๊ะ มันเส็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ส่งผลกระทบต่อสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงสังคมโลก ซึ่งถ้าไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ได้อย่างเด็ดขาด อาจจะทำให้เกิดความสูญเสียต่อมวลมนุษย์ชาติอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลสำนักขามซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดต่อกับชายแดนไทย - มาเลเซีย ซึ่งเป็นแหล่งย่านธุรกิจมีสถานบันเทิงเกิดขึ้นมากมายในรูปแบบต่าง ๆ มีบริการแก่นักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวต่างชาติ ทำให้เกิดการสร้างอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้น หนึ่งในอาชีพนี้ คือการบริการทางเพศ โดยการบริการทางเพศ มีในรูปแบบของการขายบริการทั้งทางแฝงและทางตรง พนักงานบริการหญิงส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งอาศัยอยู่ทั่วพื้นที่ทั้งในคาราโอเกะ โรงแรม ผับ บาร์ สปา และแฝงอยู่ในห้องเช่ามากมาย โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านไทย-จังโหลน และเมื่อมีพฤติกรรมทางเพศก็ย่อมเกิดการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันหรือไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับแขกประจำ(คู่ขา) อีกทั้งยังพบว่ามีปัญหาความไม่เข้าใจการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้มีโอกาสแพร่ระบาดของเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์       จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายโดยกลุ่มอาสาสมัครพัฒนาด่านนอก สำนักงานเทศบาลตำบลสำนักขาม ( สิงหาคม 2559 ) สถานบริการในพื้นที่มีทั้งหมด 264 ร้าน กลุ่มพนักงานบริการหญิงทั้งหมดประมาณ 7,792 ราย กลุ่มอิสระ ประมาณ 4,909 ราย และกลุ่มที่มีสังกัดที่มีร้าน/ทำงานในร้าน 2,883 ราย จากข้อมูลดังกล่าวในพื้นที่จึงมีแผนงานในการดูแลกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ ร้อยละ 61% กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มชาติพันธ์ ลาว พม่า กัมพูชา เป็นต้น และยังพบอีกว่า กลุ่มพนักงานบริการยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการป้องกันตัวเอง จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการดูแลรักษาสุขภาพ เพศ ของตนเองไม่ถูกต้องเหมาะสม และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์นำไปสู่การแพร่เชื้อต่อบุคคลอื่นด้วย
      และจากการดำเนินการโครงการปี 61 จำนวน 300 รายของกลุ่มอาสาสมัครพัฒนาด่านนอก มีผู้ติดเชื้อเอดส์ 1 ราย ติดเชื้อซิฟิลิส 1 ราย กลุ่มอาสาสมัครพัฒนาด่านนอก เทศบาลตำบลสำนักขาม  เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันมิให้เกิดโรคติดต่อดังกล่าว จึงดำเนินโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและสร้างเครือข่ายการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าถึงยาก ในกลุ่มพนักงานบริการหญิง  โดยเน้นกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนัก เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเพื่อให้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น  ด้วยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการดูแลด้านสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของสถานบริการ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือพนักงานหญิงบริการและบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง
กลุ่มอาสาสมัครพัฒนาด่านนอก เทศบาลตำบลสำนักขาม จึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการตรวจการติดเชื้อแก่พนักงานบริการหญิงและบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลสำนักขามโดยการออกให้บริการ(Mobile clinic) ในเขตพื้นที่ตำบลสำนักขาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงานบริการหญิงและบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลสำนักขาม มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยความสมัครใจ ลดการติดเชื้อและแพร่ระบาดในกลุ่มพนักงานบริการหญิงและบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

1.พนักงานบริการหญิงและบุคคลแวดล้อม เกิดความตระหนักในดูแลตนเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อ เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดความตระหนัก  มีความรู้ ความเข้าใจในการเข้ารับบริการตรวจเลือด (VCCT) เพื่อหาเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเข้ารับบริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิส จำนวน 500 คน ตามเป้าหมาย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
19 ต.ค. 63 1. ประชุม/วางแผนการดำเนินงานในพื้นที่แกนนำอาสาสมัคร เจ้าของสถานบริการ เพื่อหาแนวทางการประสานความร่วมมือการให้บริการด้านสุขภาพและการทำงานเชิงรุกในสถานบริการ 0 0.00 -
19 ต.ค. 63 2. ประชาสัมพันธ์โครงการและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการให้แก่เจ้าของสถานบริการ/พนักงานบริการ และบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทราบ 0 0.00 -
19 ต.ค. 63 3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
19 ต.ค. 63 4. จัดกิจกรรมเชิงรุกในสถานบริการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเอดส์ที่ถูกต้อง และสร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยคณะทำงานแกนนำอาสาฯ ก่อนทำการตรวจคัดกรอง จำนวน 8ครั้ง 0 0.00 -
19 ต.ค. 63 5. การให้การปรึกษาและให้ความรู้เพื่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยความสมัครใจ โดยเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาเฉพาะทาง 0 0.00 -
19 ต.ค. 63 6. ตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่กลุ่มพนักงานหญิง พนักงานบริการชาย และบุคคลแวดล้อมในพื้นที่ ตามแผนงานดำเนินการจำนวน 8 ครั้ง 0 0.00 -
  1. ประชุม/วางแผนการดำเนินงานในพื้นที่แกนนำอาสาสมัคร เจ้าของสถานบริการ เพื่อหาแนวทางการประสานความร่วมมือการให้บริการด้านสุขภาพและการทำงานเชิงรุกในสถานบริการ   2. ประชาสัมพันธ์โครงการและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการให้แก่เจ้าของสถานบริการทราบ   3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   4. จัดกิจกรรมเชิงรุกในสถานบริการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเอดส์ที่ถูกต้อง และสร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      5. การให้การปรึกษาและให้ความรู้ เพื่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยความสมัครใจ   6. ตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่กลุ่มพนักงานหญิง พนักงานบริการชาย และบุคคลแวดล้อมในพื้นที่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

พนักงานบริการหญิงและบุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รู้สถานการณ์ติดเชื้อของตัวเอง และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง การให้คำปรึกษา การดูแลสุขภาพ การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง และเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 13:21 น.