กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนตำบลสำนักขาม
รหัสโครงการ 62-L5251-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสำนักขามมิตรสัมพันธ์
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 เมษายน 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2562
งบประมาณ 56,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไพรินทร์ หมัดหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นแนวปฏิบัติที่ต้องกระทำเพื่อการรักษาความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล(ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต”(ภาษามลายู) มักทำกับหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง”จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง”      “การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อค หรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ดังนั้น คณะกรรมการชุมสำนักขามมิตรสัมพันธ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำ “โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนตำบลสำนักขาม” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 บริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชน ในตำบลสำนักขามโดยแพทย์ เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (Bleeding)

ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก(bleeding)ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ

1.00
2 2 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

เด็กและผู้ปกครองร้อยละ 100 มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ (โดยการสอบถาม )

1.00
3 3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลสำนักขาม สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายโดยแพทย์ ตามหลักการปลอดเชื้อ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 เม.ย. 62 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมสำรวจกลุ่มเป้าหมาย 50 0.00 -
23 เม.ย. 62 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) 70 53,750.00 -
23 เม.ย. 62 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 50 3,000.00 -
23 เม.ย. 62 - 31 พ.ค. 62 การติดตามและประเมิน 50 0.00 -
รวม 220 56,750.00 0 0.00
  1. กิจกรรมสำรวจกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
    • ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ
    • จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อออกบริการทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชนมุสลิม
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
    • กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนมุสลิมเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตะหนักในการป้องกันโรค
  3. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยแพทย์
  4. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการทำสุนัต และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชน ได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (Bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง ) และการติดเชื้อ
      2. สร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 13:33 น.