กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกน้อยสุขภาพดีเมื่อได้รับวัคซีนครบชุด ปี2562
รหัสโครงการ 62-L-4117-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบาละ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัลวา มะตาหยง
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ก.พ. 2562 30 ก.ย. 2562 19,800.00
รวมงบประมาณ 19,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก ที่เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้ว หมู่บ้านหรือชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไร การเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน     ที่ผ่านมาสถานการณ์ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในประเทศไทยโดยเฉพาะโรคที่สำคัญ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค และโรคคอตีบนั้น จากการรณรงค์โรคไวรัสตับอักเสบบี 2560 พบผู้มารับบริการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีโดยกรมควบคุมโรคร่วมกับโรงพยาบาลให้ผลบวกจากการตรวจคัดกรองฯ เท่ากับ 1,273 ราย ตั้งแต่ พ.ศ.2558 – 2560 พบผู้ป่วยโดยประมาณ 6,000 รายต่อปี ในขณะที่พบผู้ป่วยวัณโรคใหม่เสมหะพบเชื้อ โดยเฉลี่ยประมาณ 30,000 ราย นอกจากนี้ยังพบว่า สถานการณ์โรคคอตีบในปี 2558 – 2560 ยังพบผู้ป่วย 28, 63 และ 29 รายต่อปี ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคเหล่านี้เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ แม้ว่าทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีการสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวในเด็กแล้วก็ตาม     เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรคด้วยวัคซีน จึงริเริ่มแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตั้งแต่ปีพ.ศ.2520 จากระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงและขยายแผนงาน จนกระทั่งปัจจุบันมีวัคซีนที่เด็กควรได้รับจำนวน 8 ชนิด สำหรับป้องกันโรคทั้งหมด 10 โรค ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และไข้สมองอักเสบเจอี โดยวัคซีนบางชนิดต้องได้รับมากกว่า 1 ครั้ง จึงจะสามารถป้องกันโรคได้ นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขโดยการสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดให้มีบริการวัคซีนแก่เด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวัยเรียน ซึ่งเด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนอย่างน้อยตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้บริการให้ฟรี โดยเด็กทุกคนสามารถรับวัคซีนเหล่านี้ได้จากสถานพยาบาลของรัฐ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง และควรรับวัคซีนให้ครบทุกช่วงอายุ       จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ อำเภอ        กาบัง จังหวัดยะลา ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ  9๐.10 เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ 89.45 เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ 90.83 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ 94.96 การได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 93.18 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ว่าเด็ก 0-5 ปี  ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 95       ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯ จากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุขภาพตำบลบาละ อำเภอ        กาบัง จังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการการฉีดวัคซีนทุกคน เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กอายุ๐-๕ ปี ร้อยละ ๙๐

 

0.00
2 เพื่อเพิ่มความความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กต่ำกว่า ๑ ปี ร้อยละ ๙๕(เพิ่มเติมเขต)

 

0.00
3 เพื่อสร้างจิตสำนึก/ เจตคติที่ดี แก่บิดา มารดาและผู้ปกครองเด็กต่อการรับวัคซีน

 

0.00
4 เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เครือข่ายในการดูแล สุขภาพของชุมชน

 

0.00
5 เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

 

0.00
6 เพื่อลดอัดตราป่วยที่สามารถป้องกันด้วย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,800.00 3 19,800.00
22 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) แก่ผู้ปกครองเด็กที่บ่ายเบี่ยงวัคซีน, ผู้นำศาสนา,ผู้นำชุมชน และแกนนำ อสม. จำนวน 120 คน 0 12,000.00 12,000.00
22 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 0 5,400.00 5,400.00
22 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 3. กิจกรรมติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการวัคซีนตามเกณฑ์ 0 2,400.00 2,400.00

5.วิธีดำเนินการ (ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นสรุป)     ขั้นเตรียมการ       1. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ       2. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีน       3. จัดทำแผนปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุก     ขั้นดำเนินการ       1. ประชุมผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน       2. อสม.ติดตามและนำส่งเด็กมารับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ รพ.สต.       3. ติดตามฉีดวัคซีนเชิงรุก ในรายที่ อสม. ติดตามแล้วแต่ไม่ยอมมารับบริการที่ รพ.สต.       4. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่ปฏิเสธวัคซีน และผู้ปกครองที่ไม่มีความรู้ความตระหนักเรื่องวัคซีน จำนวน 70 คน
  6.จัดนิทรรศการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยมีเด็กนักเรียน อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน(อสม.) ผู้นำศาสนา/ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป จำนวน 200 คน       7. สรุปประเมินผลโครงการ     ระยะหลังดำเนินการ       ติดตามความครอบคลุมวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายทุกสามเดือนรายไตรมาส

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ในเด็ก 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 2. ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องและเกิดความตระหนักในเรื่องวัคซีน 3. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 14:50 น.