กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านมาลารวมพลังปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L4128-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลา
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรกาญจน์ ปกฤตดำรง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสาเหตุการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อัมพฤต อัมพาต โรคหัวใจหลอดเลือด โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพเรื่องการบริโภคอาหาร ขาดการออกกำลังกาย และ อารมณ์เครียด การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ซึ่งประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของคนในสังคมต้องดิ้นรนและต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตนเอง ส่งผลให้ชีวิตประจำวันเกิดความเร่งรีบ มีความเครียดส่ังสมจากการทำงาน โอกาสในการออกกำลังมีน้อย บริโภคอาหารที่คำนึงถึงความสะดวก รวดเร็วอื่มท้อง ต้องพึ้่งพาบุหรี่และแอกอฮอล์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และภาวะโรคอ้วนลงพุง โดยในปัจจุบันประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกัน และลดความเสี่ยงเหล่านี้ยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการคัดกรองพบว่าการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสมตลอดจนการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งการค้นหาความเสี่ยงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการตรวจสุขภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาพให้แก่บุคคล ซึ่งจากการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลาในปีงประมาณ 2562 พบว่าจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 957 รายคัดกรองเบาหวาน 808 ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.2 กลุ่มป่วน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.4 กลุ่มผู้ป่ายรายเก่า 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.8 และจากการคัดกรองความดันโลหิตสูงจำนวน 738 ราย พบกลุ่มเสี่ยง 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.3 กลุ่มป่วย 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.2 และยังมีกลุ่มโรคอ้วน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวเกิดจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ก่อให้เกิดโรคในกลุ่ม เมตาบอลิก (Metabolic diseases) ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ก่อนให้เกิดโรค ขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียตามมา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติ และพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงต่อโรคกลุ่ม Metabolic เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอ้วนลงพุง

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรค ทางด้านอาหาร การออกกำลังกาย และส่งเสริมสุขภาพกายและใจ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุม อสม. ผู้รับผิดชอบงานเเพื่อชี้แจงแนวทางการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่สม้ครใจ 2.จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค Metabolic ในพื้นที่ 3.เขียนโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง เสนอต่อ อบต.ตาเนาะแมเราะ 4.อบรมกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค Metabolic ในพื้นที่โดยมีกิจกรรม 4.1 ผู้เข้ารับการอบรมประเมินภาวะสุขภาพ ความพร้อมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4.2 ฟังการบรรยายการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค/การปฏบัติตัวเพื่อห่างไกลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 4.3 จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และปัญหาสุขภาพ 4.4 ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม 4.5 ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิต และการจัดการความเครียด 4.6 ให้ความรู้เรื่องการออกำลังกายที่เหมาะสม 4.7 สา่ธิต และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายและอาหาร กิจกรรม walk Rally
4.8 ผู้เข้ารับการอบรมประเมินความรู้ด้านสุขภาพหลังการอบรม 5.ติดตามผลประเมินภาวะสุขภาพหลังอบรม 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติ และความรู้ที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมิน และแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ 3.ผู้เข้าอบรมมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในแบบต่างๆ ที่เลือกสรร และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2562 10:28 น.