กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจลดขยะ ลดโรค ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไร่
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกษร แซ่จู่
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฎฐเกียรติ ชำนิธุระการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถเพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับและนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ใช้ใบบัวหรือใบตองห่ออาหาร แต่ปัจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟมแก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบที่ตามมามีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหนะนำโรค เสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีสถานะทางเสรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซีส ปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน เช่น สภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและที่อยู่อาศัยสัตว์นำโรคกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบหน้าฝนถ้าชุมชนไม่มีความตระหนักและช่วยกันดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีจะทำให้ในบริเวณถนนในหมู่บ้าน ในบริเวณบ้านมีต้นหญ้าวัชพืชขึ้น รถมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่นำโดยแมลงตามมา เช่น โรคไข้เลือดออก โรคเลปโตสไปโรซีส ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อลดปัญหาขยะ พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน และเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะแก่ประชาชนในชุมชนเพื่อให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดหาแนวทาง สร้างแบบแผนการกฏิบัติร่วมกัน เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ป้องกันการเกิดโรคติดต่อในชุมชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารและโรคที่แมลงและสัตว์เป็นพาหะนำโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท

 

0.00
2 เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

0.00
3 เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อ

 

0.00
4 เพื่อความสะอาดเป็นระเบียบสวยงามในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ

- รวบรวมข้อมูล - ประชุมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนกับ อสม.กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและตัวแทนชาวบ้าน - ประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และครูเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและเป็นแกนนำในการดูแลสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน 2. ขั้นดำเนินการ - จัดอบรมให้ความรู้แก่ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ ในการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายอย่างถูกวิธี และการใช้ประโยชย์จากขยะแต่ละประเภทเพื่อป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อแก่ อสม.ผู้นำชุมชนและปชาชนของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ จำนวน 3 หมู่บ้าน - อสม.ผู้นำชุมชน และประชาชนร่วมทำกิจกรรมรักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือน รณรงคืทำความสะอาดถนน และรอบๆ หมู่บ้านโดยมีหัวหน้าละแวกร่วมกับ อสม.เป็นผู้กระตุ้น เป็นผู้นำในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง - จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ โดยครัวเรือนนำร่องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ร่วมอบรมนำขยะที่คัดแยกมาแลกไข่ไก่ กำหนดให้ตามความเหมาะสมของขยะที่นำมาแลกตามข้อตกลง โดยบริการรับแลกเดือนละ 1 ครั้ง ในวันที่ 10 ของเดือน เป็นเวลา 3 เดือน จำกัดการแลกครัวเรือนละ 1 ครั้งต่อเดือน แลกไข่ได้ครั้งละ 1 ตะกร้า (ตะกร้าละ 10 ฟอง) โดยรับเฉพาะขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชย์ได้ และปริมาณขยะต่อครั้งต้องมากกว่า 5 กิโลกรัม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
  2. สามารถลดปริมาณขยะในหมู่บ้านได้
  3. โรคที่เกิดจากแมลงเป็นสื่อลดลงจนไม่เป็นปัญหาหรือไม่มีเกิด
  4. ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถนำไปขยายใช้ในงานอื่น ที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน
  5. ชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการจัดสิ่งแวดล้อมและการดูแลขยะได้ถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2562 11:32 น.