กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนพื้นที่ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5225-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 29 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเอื้ออารี แก้วมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียน  เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์  สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีจึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย การขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๖ ปี) จะพบว่าพื้นที่เขตตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาของปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ พบว่าเด็กวัยแรกเกิดถึง ๖ ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวนทั้งหมด ๓๖ คน โดยมี น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒ คน และน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเด็กอ้วน จำนวน ๑๔ คน จากเด็กทั้งหมด ๑๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๓๘ และ ๙.๗๙ ตามลำดับ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ ๗ และ ๑๐ ตามลำดับ ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสม ตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนพื้นที่ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และต่อเนื่องทุกปี เพื่อการแก้ไขพัฒนาที่ยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็กวัยก่อนเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

๑. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามทางโภชนาการ ร้อยละ ๑๐๐ ๒.ติดตามเฝ้าระวังทางโภชนาการทุก ๑ เดือน

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยก่อนเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองสมวัย ร้อยละ 85

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก ๐-๖ ปี

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ ร้อยละ ๘๕ โดยวัดจากแบบสอบถาม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,500.00 0 0.00
1 ก.ค. 62 - 29 ก.ย. 62 ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ 0 11,180.00 -
1 ก.ค. 62 - 29 ก.ย. 62 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง 0 0.00 -
1 ก.ค. 62 - 29 ก.ย. 62 ติดตามประเมินทางโภชนาการ 0 4,320.00 -
1 ก.ค. 62 - 29 ก.ย. 62 ประสานส่งต่อเข้ารับการรักษา 0 0.00 -
  1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก ๐-๖ ปี  ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประสานงานกับ อสม. ๔ หมู่บ้าน เพื่อเตรียมชุมชน สถานที่ เด็ก ๐-๖ ปี และผู้ปกครองในกลุ่มเป้าหมาย ตามวันเวลาที่ออกดำเนินการ
  4. แต่งตั้งและประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการ   5.1 จัดอบรมผู้ปกครองในเขตพื้นที่ตำบลพังยาง
      5.2 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก ๐-๖ ปี ตามเกณฑ์ของกรมอนามัยกำหนด   5.3 ติดตามเยี่ยมในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐาน และวัดความรู้ความเข้าใจหรือทดสอบความรู้ ความเข้าใจและมอบของรางวัลแก่ผู้ตอบคำถาม   5.4 ในรายที่พบปัญหาทุพโภชาการและขาดสารอาหารรุนแรงประสานงานกับโรงพยาบาลระโนดเพื่อส่งเข้าคลินิกรักษาต่อ
  6. สรุป/ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กก่อนวัยเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2562 13:33 น.