กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
รหัสโครงการ 62-L5225-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพศาล หนูกลัดนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม "โรคอุบัติซ้ำ" ที่เป็นปัญหาสำคัญของโลก และสถานการณ์ของประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2561 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รวม 43,149 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 72.06 ต่อประชากรแสนคน ผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก 58 ราย จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2561 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 964 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 68.42 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย(อำเภอหาดใหญ่) อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคืออำเภอสิงหนครอัตราผู้ป่วยเท่ากับ 233.70 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอำเภอเมืองสงขลา อำเภอคลองหอยโขง อำเภอเทพา และ อำเภอหาดใหญ่ จากข้อมูลข้างต้น ปี 2561 เป็นปีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการจัดประชุมอาสาปราบยุงควบคุมโรคไข้เลือดออก เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 เพื่อมอบนโยบายและสั่งการให้หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินงานเพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่กำลังระบาดในช่วงฤดูฝนนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา 67(3) กล่าวว่า  องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ  และมาตรา16(19) ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในด้านสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง จึงได้ดำเนินงานเพื่อป้องการการเกิดและแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องทุกปี และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นี้ ได้ดำเนินการโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขึ้น โดยการติดป้ายประชาสัมพันธ์, ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายประจำตำบล, ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อสม. ประจำตำบลเดินเยี่ยมบ้านแจกแผ่นพับให้ความรู้การป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายพร้อมทั้งแจกทรายอะเบท ทุกครัวเรือน    เพื่อป้องกันและจำจัดไข่ลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว ให้รู้จักวิธีการควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรค ไข้เลือด

ประชาชนมีความรู้ในด้านการกันป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างน้อย 80 % จากการตอบแบบสอบถาม

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

จำนวนประชาชนที่มาขอรับทรายอะเบท

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออก

จำนวนผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตลดน้อยลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,050.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 62 รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 16,050.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อของบประมาณ
  2. ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  3. จัดเตรียม/จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้มีความพร้อม
  4. ดำเนินงานตามโครงการ (กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค)     - ประชาสัมพันธ์โครงการและความรู้ด้านการป้องกันและการกำจัดลูกน้ำยุงลาย     - ติดป้ายประชาสัมพันธ์ถึงการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย     - จัดรถประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมทั้งแจกทรายอะเบทและแผ่นพับให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันและกำจัดลูกน้ำ ยุงลาย
  5. ติดตามและประเมินผลโครงการ
  6. สรุปและรายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตื่นตัว มีความรู้ ความเข้าใจ รู้จักวิธีการควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดและร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการช่วยกันเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
  3. การแพร่ระบาดของโรค อัตราป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2562 11:36 น.