กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาคีเครือข่ายวังประจันร่วมใจ ต้านภัยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวัฒนชัย ไชยจิตต์
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.7615949584553,100.15914035933place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 ส.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 1,250.00
2 21 ส.ค. 2562 21 ส.ค. 2562 7,200.00
3 28 ส.ค. 2562 28 ส.ค. 2562 7,200.00
4 24 ก.ค. 2562 11 ก.ย. 2562 5,000.00
รวมงบประมาณ 20,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
19.50
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
50.79

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อในปัจจุบันที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกายความเครียด โรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจันประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ พบว่า มีกลุ่มป่วยรายใหม่ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน ๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒.๖๔ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ มีกลุ่มป่วยรายใหม่ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน ๒๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๐๐(ข้อมูลจากโปรแกรม HDC)ทั้งยังพบว่าในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้โดยผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ ๑๓.๒๔ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ ๓๕.๓๗ (ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) จากผลการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเรื้อรังไม่สามารถควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคได้ตามเกณฑ์ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะในพื้นที่เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล(รับประทานหวาน มันเค็มมากเกินไปและรับประทานผัก ผลไม้น้อยเกินไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อยการบริโภคยาสูบรวมถึงภาวะเครียดซึ่งหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวจะส่งผลให้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่มีความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา ซึ่งการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อในชุมชน ไม่สามารถดำเนินการได้โดยกระทรวงสาธารณสุขเพียงลำพัง หากแต่ชุมชนและภาคีเครือข่ายองค์กรต่างๆล้วนมีอิทธิพลและมีความสำคัญในการลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค ฉะนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการค้นหาปัญหา และดำเนินการในการแก้ไขปัญหาร่วมกันจึงเป็นแนวทางที่สำคัญดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน จึงได้จัดกิจกรรม โครงการภาคีเครือข่ายวังประจันร่วมใจต้านภัยโรคเรื้อรังเพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเรื้อรังและเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้โดยมีกระบวนการทำงานคือจัดการเรียนรู้ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในสถานที่บริการและในชุมชนเกี่ยวกับบทบาทในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเองครอบครัวชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนโดยอสม.และเจ้าหน้าที่และจัดกิจกรรมทำค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังรวมทั้งกิจกรรมติดตามเยี่ยมกลุ่มป่วยในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

19.50 18.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

50.79 40.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความรุนแรงได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

??/??/???? จัดการเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในสถานที่บริการและในชุมชนเกี่ยวกับบทบาทในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดโรค และภาวะแทรกซ้อนโดย อสม.และเจ้าหน้าที่ 0.00 -
24 ก.ค. 62 - 11 ก.ย. 62 กิจกรรมติดตามเยี่ยมกลุ่มป่วยในชุมชน 10.00 5,000.00 -
8 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 จัดตั้งคณะทำงาน ที่มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน ประเมินและวิเคราะห์ชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำแผนการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 25.00 1,250.00 -
21 ส.ค. 62 กิจกรรมจัดทำค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 60.00 7,200.00 -
28 ส.ค. 62 กิจกรรมจัดทำค่ายผู้ป่วยเรื้อรัง / ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง 60.00 7,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลวังประจัน เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มข้นสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆ อย่างยั่งยืน เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างสุขภาพให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการขยายผลการเกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนสร้างความเข็มแข็งและการพึ่งตนเองทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2562 15:37 น.