กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ "สุขภาพดี ตามวิถีพอเพียง"
รหัสโครงการ 62-L7499-3-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 155,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารมณ์ จิตภักดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานไว้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ ด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานและยึดคนเป็นศูนย์กลางพัฒนา ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสทิงพระ ได้น้อมนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพ” และยึดหลักการที่ว่า “สุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดี” คือ สุขภาพดีเกิดจากการมีสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข โดยถือว่าสุขภาพดีหรือสุขภาวะทางกาย ทางใจ ทางสังคม ทางจิตวิญญาณ และปัญญาของทุกคน เป็นศีลธรรมขั้นพื้นฐานของสังคม เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้
    ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชน คนไทยใช้ชีวิตแบบรีบเร่งและแข่งขันมากขึ้นและให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหารายได้มาตอบสนองต่อความต้องการสร้างให้เกิดความเครียดและไม่ใส่ใจในการดูแลด้านสุขภาพที่ถูกต้องนำมาซึ่งพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารนอกบ้าน ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป นิยมบริโภคโปรตีนและไขมันสูง และนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปรับประทาน  บริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าว ส่งผลถึงปัญหาสุขภาพและภาวการณ์เกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดที่สำคัญตามมา ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะวิตกกังวลและความเครียด รวมถึงโรคมะเร็ง ซึ่งโรคหรืออาการต่างๆ ดังกล่าว เป็นโรคหรืออาการเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและตายอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีแนวโน้มของปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น
    การพัฒนาสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาสุขภาพหรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ ในทุกมิติของสุขภาพทั้งกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในระดับบุคคลหรือองค์กร บนพื้นฐานการพึ่งตนเองเป็นหลัก ดำเนินชีวิตบนทางสายกลางพอประมาณ มีเหตุผล ด้วยหลักความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรม เป็นพื้นฐาน มีความซื่อสัตย์ เมตตา จิตอาสา เสียสละและแบ่งปัน ตามความเหมาะสมของชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นอยู่ เพื่อความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การไม่ฟุ่มเฟือย ประหยัดอดออม ไม่เป็นหนี้ การปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน การออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง การทำจิตใจให้เบิกบาน แจ่มใส ไม่เครียดปล่อยวาง มีศีลธรรม เป็นต้น     ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสทิงพระ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ “สุขภาพดี ตามวิถีพอเพียง” เพื่อจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ให้กับผู้สูงอายุเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากตัวผู้สูงอายุ ในการเปลี่ยนแปลงและมีความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคและการดำเนินชีวิต และจะได้นำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน อันส่งผลต่อผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพดีบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดี ตามวิถีพอเพียง
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดี ตามวิถีพอเพียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 60
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงและมีความสุข
  1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการสามารถนำกระบวนการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 155,900.00 2 155,900.00
30 - 31 มี.ค. 62 1. กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้สูงอายุสุขภาพดี ตามวิถีพอเพียง รายละเอียด ตามกำหนดการฝึกอบรมฯ 60 155,900.00 155,900.00
1 เม.ย. 62 - 30 ส.ค. 62 ประเมินความพึงพอใจและติดตามเยี่ยมหลังการฝึกอบรม 0 0.00 0.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน
  3. ประสานประธานชมรมผู้สูงอายุ ครูใหญ่โรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อขอความร่วมมือและร่วมกำหนดแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรม พร้อมนัดหมายผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดแผนการดำเนินงานที่วางไว้
  4. ประสานทีมวิทยากร และประสานจัดเตรียมสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
  5. จัดซื้อ/จัดจ้าง ค่าใช้สอยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ
  6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรการมีสุขภาพดีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
  7. ประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินความพึงพอใจ และติดตามผลการการเรียนรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง
  8. สรุปปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
  9. สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถ        ภาพร่างกายและจิตใจ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองให้ มีสุขภาพดี ตามวิถีพอเพียง
  2. ผู้สูงอายุมีความตื่นตัว มีส่วนร่วมในชุมชน ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง
  3. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2562 10:50 น.