กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2562 - 20 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี จันทร์เทพ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.507,100.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 63 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ การได้ยิน การมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การเจ็บป่วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล จากสถานการณ์ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้เกิดภาระพึ่งพิงสูงมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้แก่ปัญหา การได้ยินและการมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกายและอุบัติเหตุ ปัญหาในการขบเคี้ยวอาหารและการขับถ่าย ปัญหาสภาพจิตใจ โรคสมองเสื่อม ปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่พบมาก ๓ อันดับแรกในผู้สูงอายุได้แก่โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๓๑.๗ โรคเบาหวาน ร้อยละ ๑๓.๓ และโรคหัวใจ ร้อยละ ๗ ( มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย,๒๕๕๓) นอกจากนั้นมีโรคอัมพฤกษ์/อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคมะเร็ง ส่วนโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเรื้อรังที่คุกคามภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม สภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนจากภาคเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมและบริการมีผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่เมืองใหญ่ ประกอบกับสตรีซึ่งมีบทบาทหลักในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ ได้มีบทบาททำงานนอกบ้านมากขึ้น ทำให้บทบาทครอบครัวในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุลำบากมากขึ้น สัดส่วนผู้สูงอายุที่อาศัยตามลำพังคนเดียวลำพังเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวในระยะเวลาช่วงสิบปีที่ผ่านมาเพิ่มจากร้อยละ ๓.๗ เป็นร้อยละ ๗.๗ และร้อยละที่ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังกับคู่สมรสเพียงลำพังสองคนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ ๑๑.๖ ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นร้อยละ ๑๖.๓ ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ( มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย,๒๕๕๓) ดังนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพจิตที่ดีแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อความมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อที่จะเป็นพลังในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวและประเทศชาติ ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยอาศัยทรัพยากร สถานที่ องค์ความรู้ในชุมชนมามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการนี้ เพื่อส่งผลให้ผู้สูงอายุคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน

มีกลุ่้มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ

63.00
2 ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้รับการส่งเสริมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างครอบคลุม

ผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้รับการส่งเสริมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างครอบคลุม

300.00
3 ๓. เพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว และการดูแลระยะสุดท้ายในชุมชน

มีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว และการดูแลระยะสุดท้ายในชุมชน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ และจำแนกประเภท โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
2. คัดเลือกกลุ่ม จิตอาสา/อสม. เพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2.1 อบรมให้ความรู้ในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 63 คน   2.2 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ ตรวจฟัน ประเมินภาวะสุขภาพกายและจิต ฯลฯ โดยทีมหมอครอบครัว อสม. และกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ 3. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ พร้อมพี่เลี้ยงการดำเนินงานในชุมชนและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เหมาะสมในการนำไปใช้ในการดำเนินงานต่อไป 4. กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ประเภท ๒ และ ๓ และผู้สูงอายุโรคมะเร็ง เยี่ยมประคับประครองในระยะสุดท้าย โดยทีมหมอครอบครัวและกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ 5. สรุปผลการดำเนินการโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องในทุกหมู่บ้านที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประเภทของผู้สูงอายุ ๒. มีกลไกการขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุโดยกลุ่มจิตอาสาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ๓. มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง มีการเชื่อมประสานกับเครือข่ายและหน่วยงานราชการ   ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2562 11:51 น.