กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ อย่างมีคุณค่า
รหัสโครงการ 62-L7250-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 17,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ( นายมานพ รัตนคุณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ เรื่องการพัฒนาศักยภาพคนและสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมแก่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย ทำให้เห็นความสำคัญของประชากรวัยผู้สูงอายุในฐานะที่เป็นผู้ให้ทางสังคม โดยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้า พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปคนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น จากข้อมูลสถิติจังหวัดสงขลา มีผู้สูงอายุนับเป็น ๑๔ % ของประชากรทั้งจังหวัด และในอนาคตข้างหน้าประชากรวัยนี้จะเป็นวัยที่ประสบกับปัญหาสุขภาพทั้งในเพศหญิงและเพศชาย
จากการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลาในปี ๒๕๖๑ แก่ผู้ที่มีอายุระหว่าง ๔5 – ๕๙ ปี พบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพกายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อวัยวะต่างๆ และปัญหาด้านสุขภาพจิตตามลำดับ ภายหลังจากการอบรมพบว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีเจตคติที่ดีและรู้วิธีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้น รวมถึงมีการเตรียมตัวในการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น การบริโภคอาหารที่ดีเพียงพอเหมาะสมตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพเป็นประจำ การมีสุขภาพจิตที่ดี และการมีสุขภาพทางเพศที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ มีสุขภาพดี อายุยืน ลดโรค ลดความพิการ ลดอาการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆที่จะเกิดขึ้นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การเข้าสู่วัยสูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดูแลผู้ที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและเทศบาลนครสงขลา ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพเหล่านี้จึงได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ อย่างมีคุณค่าขึ้น ให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติตัวได้อย่าถูกต้องนำไปสู่การมีสุขภาพกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตที่แจ่มใส

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังตนเองและหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความพิการในวัยผู้สูงอายุ ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเองในด้านต่างๆได้

๑. ร้อยละ ๘๐ ผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการเตรียมความพร้อมผู้ที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม ๒. ร้อยละ ๘๐ ผู้ที่เข้ารับการอบรม สามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเอง โดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพตนเอง (สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย) ๓. ร้อยละ ๘๐ ผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดี โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๕.๑ ขั้นเตรียม - ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง - ประสานงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง - ประชาสัมพันธ์โครงการ
- รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ - จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เอกสารต่าง ๆ ๕.๒ ขั้นดำเนินการ - ดำเนินการจัดอบรม ๕.๓ ขั้นสรุปและประเมินผล - ประเมินผลหลังอบรม โดยใช้แบบประเมินความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ - สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงช่วงก่อนวัยสูงอายุ การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม ในสภาพแวดล้อมที่ดีและสามารถใช้ชีวิตอย่างความสุข และสามารถนำไปปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง ๒. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถประเมินสุขภาพของตนเอง และคนใกล้ชิดที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2562 11:28 น.