กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชน พิชิตไข้เลือดออก 2560
รหัสโครงการ 60-L4135-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 14,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาอิชะห์ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหมู่ที่ 1 , 2 และ 8 ตำบลบุดี ในปีงบประมาณ 2558มีการรายงานว่าพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 213.48 และในปีงบประมาณ2559( ตั้งแต่ 1 ต.ค. 58 – 30 ก.ย. 59 )พบผู้ป่วยแล้วจำนวน 23 รายอัตราป่วย ต่อแสนประชากร701.43 ประกอบกับมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกจำนวนมากในเขตตำบลใกล้เคียงเช่นตำบลสะเตงนอก ตำบลบันนังสาเรงเป็นต้น
เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนพิชิตไข้เลือดออก 2559 ซึ่งมีพื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นที่รวมเด็กที่เข้ามารับการศึกษา ตลอดจนชุมชนของประชาชนในพื้นที่ทั้ง ๓ หมู่บ้านจะต้องมีมาตรการการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการพ่นหมอกควัน การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ในการยับยั้งการแพร่พันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

 

2 เพื่อให้ทีม SRRT เกิดการทำงานอย่างเป็นทีมและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

 

4 เพื่อให้ประชาชนมีทักษะในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

 

5 เพื่อร่วมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมคณะกรรมหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมให้ข้อมูลวางแนวทางและร่วมจัดกิจกรรมและชี้แจงโครงการ 2. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอคณะกรรมหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น เพื่อพิจารณา 3. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ 5. จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ขั้นดำเนินการ
1. รณรงค์ ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยใช้สื่อให้ความรู้ 2. รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และสำรวจค่า HI, CI 3. ประชุมเชิงปฏิบัติการทีม SRRT ให้เกิดการทำงานอย่างเป็นทีมและควบคุมป้องกันโรค ไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 8๐ ต่อแสนประชากร
  2. ทีม SRRT เกิดการทำงานอย่างเป็นทีมและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี
  3. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกถูกวิธี
  4. ประชาชนมีทักษะในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกถูกวิธี
  5. สามารถพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 11:20 น.