กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ติดตามการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน การเฝ้าระวังปัญหา IQ และ EQ ในวัยเรียน ปี 60
รหัสโครงการ 60-L6961-01-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2560 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.949place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีความสามารถทางเชาว์ปัญญา (ไอคิว) ที่ดี ช่วยให้คนเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ และ ดำเนินชีวิตอยู่รอดในสังคม ซึ่งจะต้องควบคู่ไปกับความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ที่ดีด้วย จึงจะทำให้บุคคลเป็นคน ที่มีคุณภาพได้ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างไม่เต็มศักยภาพ เพราะการที่จะพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่ดี ต้องอาศัยการคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจ และ ความสามารถในการสื่อสารที่ดีด้วย ซึ่งการ พัฒนาสติปัญญา และ วุฒิภาวะทางอารมณ์ของเด็ก ต้องมีส่วนร่วมจากครอบครัว บ้าน โรงเรียน และ ชุมชน ที่จะช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนา รวมทั้งการปลูกฝังพื้นฐานที่ดีทั้งไอคิวและอีคิว ในวัยเด็กจะสามารถพัฒนาไปสู่ผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิต ครู และ ผู้ดูแล ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง ในการส่งเสริม และ พัฒนาเด็กในเรื่องของการพัฒนาความสามารถทางเชาว์ปัญญา และ ความฉลาดทางอารมณ์ มีการประเมิน คัดกรองความฉลาดทางอารมณ์ และ เชาว์ปัญญาเด็ก โดยดำเนินการในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ในปี 2558 ที่ผ่านมา จำนวนโรงเรียนที่ได้ดำเนินการคัดกรองจำนวน 5 โรง จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 19 ห้อง จำนวนนักเรียนที่ได้รับการคัดกรอง 677 คน และ จำนวนนักเรียนที่ผิดปกติทั้งหมด 57 คน และ ได้มีการนำร่องโรงเรียนในเขตเทศบาล และมีการคัดกรองเพิ่มเติม จำนวนนักเรียนที่คัดกรอง 228 คน มีความเสี่ยงจำนวน 12 คน ในการนี้ เพื่อให้ทราบถึง ระดับ ความฉลาดทางอารมณ์ และ เชาว์ปัญญาเด็ก และให้คำแนะนำ อีกทั้งเพื่อให้ครู และ ผู้ดูแลเด็ก สามารถคัดกรอง ค้นพบเด็กที่มีปัญหา ทำให้สามารถช่วยเหลือแก้ไขได้อย่างทันเวลา ป้องกันการเกิดปัญหาระยะยาวในเด็ก ดังนั้น กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน การเฝ้าระวังปัญหา IQ และ EQ ในวัยเรียน สำหรับครู และ ผู้ดูแล เพื่อให้ครู และ ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง อีกทั้งมีทักษะในการคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์ และ เชาว์ปัญญาเด็กเบื้องต้นได้ และ สามารถส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติได้อย่างเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กเข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์ และ เชาว์ปัญญาเด็ก

จัดการอบรมให้แก่ครู และ ผู้ดูแลเด็ก

2 2.เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กเข้ารับการอบรม มีทักษะการคัดกรอง และ สามารถส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมให้ความรู้ เรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ และ เชาว์ปัญญาเด็ก 1.1 ให้ความรู้เบื้องต้น ความสำคัญ เกี่ยวกับ ความสามารถทางเชาว์ปัญญา และ ความฉลาดทางอารมณ์ และ แบบประเมินต่างๆ 1.2 หลักการใช้แบบประเมิน และ แนวทางในการทำแบบประเมิน 1.3 ฝึกการปฏิบัติ การใช้แบบประเมิน
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการช่วยเหลือ ส่งต่อ
  3. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครูและผู้ดูแลเด็กเข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์ และ เชาว์ปัญญาเด็ก 2.ครูและผู้ดูแลเด็กเข้ารับการอบรม มีทักษะการคัดกรอง และ สามารถส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 11:26 น.