กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 60-L4135-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 29,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาอิชะห์ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากพฤติกรรมสุขภาพอนามัยแม่ของประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ เช่น ความเชื่อทางศาสนา ความเคยชิน วัฒนธรรมของแต่ชุมชน ซึ่งบางอย่างขัดกับการพัฒนางานสาธารณสุข โดยเฉพาะงานอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งมีปัญหาในเรื่องการมารับบริการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์เกิน ๑๒ สัปดาห์ ฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ปัญหาเรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ เช่น มีความเชื่อว่าหากรับประทานยาบำรุงจะทำให้เด็กตัวโตคลอดยาก ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทารกตายปริกำเนิดและมารดาตาย ดังนั้น การแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก จึงมีความจำเป็นต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำสตรี ผดุงครรภ์โบราณ รวมทั้งกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีเพื่อพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามตัวชี้วัด คือ ร้อยละของหญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐อัตราการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดได้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคลอดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร้อยละ ๙ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ ไม่เกินร้อยละ ๗ เยี่ยมหลังคลอด ๓ ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ ๑๐๐และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ จากสภาพปัญหาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดีพบว่า ในปีงบประมาณ๒๕๕๙(ข้อมูล ต.ค .๕๘ – ก.ย๕๙ ) หญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ๘๘ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คิดเป็น ร้อยละ๖๘.๔๙และหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดซ้ำ คิดเป็นร้อยละ๑๑ .๑๑ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐กรัม ร้อยละ๕และอัตรามารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนร้อยละ๘๓.00 จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า งานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ยังเป็นปัญหาอยู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดีตำบลบุดีอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เห็นความสำคัญของการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อส่งผลให้งานอนามัยแม่และเด็กบรรลุตามตัวชี้วัดที่วางเอาไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์/คลอด/หลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ในการป้องกันปัญหามารดาตายและทารกตายปริกำเนิด

 

3 เพื่อให้คู่สมรส/ครอบครัว/มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ขณะตั้งครรภ์/คลอด/หลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

4 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำแผนงาน/โครงการ ๒. นำเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ ๓. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ คณะทำงาน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำสุขภาพ เพื่อร่วมให้ข้อมูล ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมตรวจสอบและร่วมติดตามในการดำเนินงานโครงการฯ ๔. จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการฯ ๕. ดำเนินการตามแผนการปฏิบัติการโครงการฯ ๖. ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพหลังการอบรมฯ ๓ เดือน ๗. ติดตามและสรุปผลโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๒. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๓. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด ไม่เกินร้อยละ ๑๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 11:30 น.