กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L1513-02-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนเมา
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2562 - 20 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2562
งบประมาณ 26,105.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสาโรช เจริญฤทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึม อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโตร่วมด้วย โดยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆในร่างกาย ทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้สามารถเป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยพบว่ามีการระบาดได้เกือบตลอดทั้งปี แต่มักจะมีการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ของทุกปี ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกันควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันแต่ก็ยังพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกปีซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการระบาดและขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเคลื่อนย้ายประชากร จำนวนยุงลายที่เพิ่มมากขึ้นตามภาชนะน้ำขังที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ การคมนาคมติดต่อสะดวกรวดเร็ว ซึ่งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลายโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - ๒๖ ธันวาคม    25๖๑ ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๘๑,๔๘๙ ราย อัตราป่วย ๑๒๓.๓๖ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๑๐๗ ราย อัตราป่วย-ตายร้อยละ 0.1๓ จังหวัดตรังอยู่ลำดับที่ ๔๑ ของประเทศ โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๖๒๓ ราย อัตราป่วย ๙๖.๘๘ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน ๒ ราย และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลควนเมา พบว่า มีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๒๕ ราย และผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก จำนวน ๓ ราย จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า พื้นที่ตำบลควนเมาเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น โดยใช้มาตรการที่หลากหลาย ได้แก่ การกำจัดพาหะนำโรค ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งการควบคุมโรคนั้นจำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนจึงจะควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก” เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกและกำจัดยุงลายไม่ให้มีการแพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้อีกภายในพื้นที่ตำบลควนเมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,105.00 0 0.00
25 มี.ค. 62 - 27 ก.ย. 62 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ 0 10,105.00 -
10 เม.ย. 62 - 13 ก.ย. 62 พ่นหมอกควัน 0 16,000.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกภายในพื้นที่ตำบลควนเมา   2.2 การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และการ     สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน/โรงเรียน/ศาสนสถาน/ท้องถิ่น/     สถานบริการสาธารณสุข   2.3 กรณีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก/สงสัยโรคไข้เลือดออก ดำเนินการพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วย     และละแวกใกล้เคียง รัศมี 100 เมตร และพ่นซ้ำอีก 1 ครั้งระยะห่าง 7 วัน และการพ่นหมอกควัน     ช่วงรณรงค์ก่อนโรงเรียนเปิดเทอม ภายในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ศาสนสถาน/ท้องถิ่น/สถาน     บริการสาธารณสุข ในพื้นที่ตำบลควนเมา   2.4 การลงสุ่มดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในแต่ละหมู่บ้านโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพในแต่ละหมู่บ้าน     เดือนละ 1 ครั้ง
  3. ขั้นสรุปโครงการ   3.1 สรุปผลโครงการ   3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลควนเมามีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่า ๑๐
  2. ทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  3. ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 16:22 น.