กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เสริมสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมเพื่อลดเสี่ยงลดโรค
รหัสโครงการ 62-L4115-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมส่งเสริมสุขภาพบ้านควนนางา
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 39,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมส่งเสริมสุขภาพบ้านควนนางา
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.3841468604709,101.23880855298place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 39,700.00
รวมงบประมาณ 39,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     จากการประเมินสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด จากการจัดอันดับของประเทศในเอเชีย ที่มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุในปัจจุบัน พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับที่ 2 รองลงมาจากประเทศสิงคโปร์ ดังนั้น การมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะมาถึง เพราะผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่างๆ อันเนื่องมาจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายและโรคประจำตัวเรื้อรัง ข้อมูลจากการศึกษาชุมชนพื้นที่ตำบลห้วยกระทิง พบว่า มีจำนวนประชากรในพื้นที่ทั้งหมด 4,704 คน ผู้หญิง 2,315 คน ผู้ชาย 2,389 คน มีผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลห้วยกระทิงมีจำนวน 327 คน คิดเป็นร้อยละ 6.95 ซึ่งแยกตามหมู่บ้านได้ดังนี้ หมู่ที่ 1 มีผู้สูงอายุจำนวน 100 คน จากประชากรทั้งหมด 1,293 คน ผู้สูงอายุที่พิการจำนวน 3 คน หมู่ที่ 2 ผู้สูงอายุจำนวน 73 คน จากประชากรทั้งหมด 1,044 คน มีผู้สูงอายุที่พิการจำนวน 7 คน หมู่ที่ 3 มีผู้สูงอายุจำนวน 87 คนจากประชากรทั้งหมด 1,404 คน พบผู้สูงอายุที่พิการจำนวน 5 คน หมู่ที่ 4 มีผู้สูงอายุจำนวน 67 คนจากประชากรทั้งหมด 963 คน พบผู้สูงอายุที่พิการจำนวน 4 คน ข้อมูลจากการเยี่ยมบ้านและการทำสนทนากลุ่มผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่ ม.4 ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ไม่มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ คือ ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีอาการแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ป่วยเป็นโรคหอบหืด มีอาการตาพร่ามัว หลงลืม และหูไม่ค่อยได้ยิน ปวดข้อ ปวดเข่า กังวลและมีอาการเครียดจากการเจ็บป่วยและจากการรับประทานยาและสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวาน มัน และเค็มมากเกินไป ไม่มีการออกกำลังกายและมีสภาวะเครียดจากเรื่องราวต่างๆที่เข้ามา
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แกนนำชุมชนบ้านควนนางา อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน บัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิงจึงได้เห็นความสำคัญในการจัดโครงการเสริมสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมเพื่อลดเสี่ยงลดโรค ในพื้นที่ ม.4 ต.ห้วยกระทิง เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในพื้นที่มีสุขภาพดีและลดปริมาณผู้สูงอายุจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพ

1.ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 2.ผู้สูงอายุร้อยละ 80 เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ 3.ผู้สูงอายุร้อยละ 80 ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย 4.ผู้สูงอายุมีการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง
( 4 เดือน/1ครั้ง)

80.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

1.ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ 2.ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที

80.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุลดเสี่ยง ลดโรค

1.สามารถลดกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุร้อยละ 70 2.สามารถลดโรคผู้สูงอายุร้อยละ 70

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39.00 0 0.00
26 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 เสริมสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมเพื่อลดเสี่ยงลดโรค 0 39.00 -

1.ประชุมและวางแผนการทำโครงการ 2.ร่างโครงการเสนอเพื่อเบิกงบประมาณ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.ประชุมเตรียมทีมงานในการจัดโครงการ 5.ดำเนินการจัดกิจกรรม - กิจกรรมอบรมสุขภาวะผู้สูงอายุ - กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทำอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ - กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ - จัดกิจกรรมออกกำลังกายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง - กิจกรรมเยี่ยมบ้านตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง 5.ติดตามและประเมินผลการทำโครงการ 6.สรุปและทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. 1.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
  2. 2.ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  3. 3.มีอุปกรณ์การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 19:05 น.