กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำคุณภาพ เทศบาลเมืองพัทลุง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 2562-L7572-01-017
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพัทลุง และ งานคุ้มครองผู้บริโภค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กุมภาพันธ์ 2562 - 20 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 26,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศจีรัตน์ หลีวิจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชาชนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้น ผลิตภัณฑ์สุขภาพกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่าง หนึ่งในการดำรงชีวิต ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทต่างๆให้แก่ผู้บริโภคในชุมชนซึ่งง่ายและสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยและบริโภคสินค้าไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยาเครื่องสำอาง หรือของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ แต่สถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานในร้านชำ การแสดงฉลาก ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนอีกทั้งปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เช่น เครื่องสำอางครีมหน้าขาว อาหารเสริมประเภทต่างๆ ปัญหาจากการขายยาชุด ยาอันตราย ยาแผนโบราณ  ที่ลักลอบใส่สารสเตียรอยด์ นอกจากนี้การโฆษณาสรรพคุณโอ้อวดเกินจริงในสื่อออนไลน์ที่มีช่องทางหาซื้อได้ง่าย และมีผลิตภัณฑ์กระจายอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก อาจทำให้มีผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายและผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านี้เพิ่มขึ้น

เทศบาลเมืองพัทลุงมีร้านขายของชำในหมู่บ้านจำนวนมากประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีสื่อที่ทันสมัยการโฆษณาชวนเชื่อที่เข้าถึงง่ายและมีการจัดส่งรวดเร็ว เพิ่มความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ  เกิดการปรับตัวและแข่งขันทางธุรกิจของร้านชำ ที่พยายามตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคและผู้ประกอบการในพื้นที่ยังมีความเชื่อ ความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย โดยสถานการณ์ข้างต้นจะเห็น  ได้ว่าผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากอาหารและยากลุ่มเสี่ยง ที่ไม่ปลอดภัย เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลเมืองพัทลุงจึงเล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง กำกับดูแล และพัฒนาคุณภาพร้านขายของชำในหมู่บ้านจึงได้จัดทำ“โครงการร้านชำคุณภาพปีงบประมาณ 2562”ที่มีรูปแบบของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่าง  บูรณาการของภาคีเครือข่ายสุขภาพทั้งท้องถิ่น ภาครัฐ และภาคประชาชนที่ดึงพลังของ อสม., ผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ และพัฒนาศักยภาพ เพิ่มความรู้ผู้ประกอบการร้านชำสู่การเลือกจำหน่ายสินค้าอย่างปลอดภัย และมีคุณภาพ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางและจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้แก่ ผู้ประกอบการร้านชำ และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ

มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านชำและอสม.เป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน (ทดสอบความรู้ก่อนและหลังฝึกอบรม)

80.00
2 ร้านชำในพื้นที่ได้รับการประเมิน สำรวจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ร้านชำในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงได้รับการประเมินและตรวจร้านชำไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

80.00
3 ร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ

ร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพมากกว่า ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,000.00 2 25,402.00
6 - 28 ก.พ. 62 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 0 0.00 0.00
25 เม.ย. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้ประกอบการร้านชำและ อสม. 0 16,100.00 25,402.00
1 พ.ค. 62 - 30 มิ.ย. 62 ตรวจสอบและประเมินร้านชำ 0 3,400.00 -
1 - 10 ส.ค. 62 คัดเลือกร้านชำคุณภาพ 0 6,000.00 -
20 ส.ค. 62 สรุปผลการดำเนินงาน 0 500.00 -

๑. ประชุมผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคและจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการร้านชำคุณภาพ ปี2562

๒. เสนอโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน

๓. สำรวจร้านชำในพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

๔. อบรมและให้ความรู้แก่ อสม. จนท.เทศบาลเมืองพัทลุงและเครือข่ายเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ

๕. ภาคีเครือข่ายได้แก่ อสม.และพนักงานเจ้าหน้าที่ สำรวจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านชำในพื้นที่และให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการเชิงรุก

๖. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านชำและแจกคู่มือ สื่อ แก่ผู้ประกอบการ

๗. ดำเนินการตรวจสอบประเมินร้านชำ และขอความร่วมมือในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมและมีมาตรฐาน

๘. คัดเลือกร้านชำคุณภาพในแต่ละพื้นที่และมอบเกียรติบัตรให้แก่ร้านชำที่ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ

๙. สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรูปเล่ม รายงานผลหน่วยสนับสนุนงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นและสามารถเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานมาจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้ส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย

2 ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

3 เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำและมีส่วนร่วมในการในเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2562 14:55 น.