กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ใส่ใจโรคเรื้อรังตำบลเอราวัณ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ 60-L2523-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแว้ง
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแว้ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเอราวัณ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.973,101.842place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า “โรควิถีชีวิต” ๕ โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็มมากเกินไป และทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา นอกจากนี้ ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. ๒๕๕๙ขององค์การอนามัยโลกพบว่า ๑ ใน ๑๐ ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ ๑ ใน ๓ มีภาวะความดันโลหิตสูงนอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ ๖๓ ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรควิถีชีวิตสำหรับประเทศไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานเป็นร้อยละ ๖.๙ทั้งนี้พบว่า ๑ ใน ๓ ของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อนและมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ ๓.๓ ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงเป็นร้อยละ ๒๑.๔ โดยพบว่าผู้ป่วยเพศชายร้อยละ ๖๐ และผู้ป่วยเพศหญิงร้อยละ ๔๐ ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ ๘-๙จังหวัดนราธิวาสพบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน๑๙,๖๒๕คนคิดเป็นอัตราป่วย ๒,๕๒๓.๐๒/แสน ประชากร ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน๖๑,๗๓๗คนคิดเป็นอัตราป่วย๗,๙๓๗.๐๒/แสนประชากรอำเภอแว้งมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน๒,๐๑๓คนคิดเป็นอัตราป่วย๓,๘๒๑.๐๓/แสนประชากร ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน๔,๗๙๔คนคิดเป็นอัตราป่วย๙,๐๙๙.๘๘/แสนประชากรซึ่งพบว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีอัตราการรับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกสูงเป็นอันดับ๑และ ๒ตามลำดับในปี๒๕๕๙ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับHbA1c < ๗% คิดเป็นร้อยละ๓๘.๒๙และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมความดันได้ดีคิดเป็นร้อยละ๔๒.๔๓สำหรับตำบลเอราวัณพบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๔๗๐ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๔,๑๒๔.๖๑/แสนประชากร โรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๑,๑๑๑ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๙,๗๔๙.๘๙/แสนประชากร ผู้ป่วย โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงจะสามารถลดอัตราลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือตัวของผู้ป่วยเองครอบครัวและชุมชนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแว้งจึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ใส่ใจโรคเรื้อรัง ตำบลเอราวัณ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๐ ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

 

2 ๒.เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ การเตรียมการ ๑.วิเคราะห์ข้อมูลแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทางปิงปองจราจร๗สี ๒.ประชุมคณะกรรมการDHSและผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบสถานการณ์ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการดำเนินงานประกอบด้วยการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยโรคเรื้อรังในชุมชนการพัฒนาศักยภาพทีมรวมทั้งบทบาทของทีมการติดตามเยี่ยมผู้ป่วย การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โรคเรื้อรังประจำตำบลการสร้างคุณค่า/แรงจูงใจทีม





การดำเนินงาน ๑.จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยโรคเรื้อรังในชุมชนจำนวน๗ศูนย์(หมู่บ้านละ๑ศูนย์และศูนย์ตำบล ๑ ศูนย์) โดยอสม.เชี่ยวชาญในการเจาะเลือดตรวจน้ำตาลเป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์โดยมีบทบาทในการติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยในกลุ่มสีส้ม(FBS๑๕๕-๑๘๒mg/dl,BP๑๖๐/๑๐๐-๑๗๙/๑๐๙)และกลุ่มสีแดง(FBS>=๑๘๓mg/dl,BP >= ๑๘๐/๑๑๐) ๒.จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โรคเรื้อรังประจำตำบลโดยใช้สถานที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม โดยมีบริเวณที่จะเป็นมุมให้ความรู้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ๓. อบรมพัฒนาศักยภาพทีม(รพ.+,สสอ.+รพ.สต.+อสม.เชี่ยวชาญประจำศูนย์ฯ+อปท.)เพื่อให้ทราบแนวทางการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มสีต่างๆ
๔.จัดอบรมปรับเปลี่ยนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มสีส้มและสีแดงในหมู่บ้านนำร่องที่ไม่สมารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตรวมทั้งอสม./ผู้ดูแลภายใต้แนวคิด“ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตพิชิตโรคเรื้อรัง”หลักสูตร๑วัน๕ฐานกิจกรรมประกอบด้วย ฐานที่๑เรียนรู้โรคเบาหวานและความดันโลหิตโรคแทรกซ้อน ฐานที่๒อาหารเฉพาะโรค ฐานที่๓อารมณ์ ฐานที่๔การออกกำลังกาย ฐานที่๕ความรู้เรื่องการรับประทานยา ๕. ติดเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยทีมฯเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มสีส้มสีแดงและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยกลุ่มสีดำ/ ผู้ป่วยหลังจากนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ๖.ประกวดศูนย์เฝ้าระวังภัยโรคเรื้อรังในชุมชน เกณฑ์การตัดสินผลการประกวดศูนย์เฝ้าระวังภัยโรคเรื้อรังในชุมชน
๑.ด้านการพัฒนาศูนย์ ๒๐ คะแนน ๒.ด้านการจัดหาสื่อและผลิตสื่อคุณภาพ ๒๐ คะแนน ๓.ด้านผลลัพธ์ ๖๐ คะแนน ๗.สรุปประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพระดับน้ำตาลในเลือดระดับความดันโลหิตผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยม ๘.ประชุมคณะกรรมการDHSและผู้เกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลโครงการมอบรางวัลและร่วมกันคิดประเด็นปัญหาที่จะร่วมกันขับเคลื่อนปี๒๕๖๑

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มสีส้มและสีแดงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ๒. มีระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 15:29 น.