กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ 62-L1475-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 10,885.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารี ขวัญศรีสุทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็น ปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพ ช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผล โดยศูนย์พัฒนา-เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึง ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก จำนวน 53 คน 2.เพื่อให้ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี จำนวน 56 คน รักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง
  1. เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก จำนวน 53 คน
  2. เพื่อให้ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี จำนวน 56 คนรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการนำเสนอเพื่อขออนุมัติ
  2. แต่งตั้งคณะทำงาน
  3. ดำเนินโครงการ
    3.1 อบรมเชิงปฏิบัติการ

- หน้าที่และความสำคัญของอวัยวะในช่องปาก - การดูแลสุขภาพช่องปาก - การแปรงฟันอย่างถูกวิธีโดยฝึกปฏิบัติการแปรงฟันให้แก่ลูก - ให้บริการทันตกรรมทาฟลูออไรด์ให้เด็กใน ศพด. 4. ประเมินผล 5. รายงานผลให้กองทุนทราบฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก จำนวน 53 คน
  2. ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี จำนวน 56 คนรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2562 09:24 น.