กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L1520-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในปง
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 113,714.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2562 30 ส.ค. 2562 113,714.00
รวมงบประมาณ 113,714.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 550 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจานวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจานวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเด็งกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย       สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 มีนาคม 2562 ได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก 9,914 ราย อัตราป่วย 15.01 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 9 รายอัตราป่วย -ตายร้อยละ 0.09 จังหวัดตรังลำดับที่ 42 ของประเทศ
    สถานการณ์จังหวัดตรัง ผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 76 ราย อัตราป่วย 11.82 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต - ราย ( อ.วังวิเศษอยู่อันดับที่ 1 )     สถานการณ์อำเภอวังวิเศษ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 มีนาคม 2562ได้รับรายงาน 23 ราย อัตราป่วย 52.60 ต่อแสนประชากร ตำบลที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ ตำบลอ่าวตง อัตราป่วย 142.50 ต่อ/แสนประชากร รองลงมา ตำบลวังมะปรางเหนือ 5 ราย อัตราป่วย 44.06 ต่อ/แสนประชากร ตำบลวังมะปราง 2 ราย อัตราป่วย 41.91 ต่อแสนประชากร ตำบลเขาวิเศษ 3 ราย อัตราป่วย 28.06 ต่อแสนประขากร และตำบลท่าสะบ้า 1 ราย อัตราป่วย22.31ต่อแสนประชากร
    ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในปง ปี 2562 ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็น การลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี  2562ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 20

0.00
2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยง ในชุมชน โรงเรียน และวัด ที่เป็นแหล่งโรค

ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน Generation  ที่ 2 ในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้อง โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในปง

ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
4 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT

มีกิจกรรมการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 110,714.00 3 113,714.00
24 เม.ย. 62 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคผ่านสื่อต่าง ๆ 0 7,614.00 10,614.00
24 เม.ย. 62 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่ โดยการพ่นหมอกควัน 0 97,300.00 97,300.00
23 พ.ค. 62 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่าง ๆ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 0 5,800.00 5,800.00

1.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพในชุมชน  โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน นักเรียน และทีม SRRT
  2 .จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานควบคุมโรคผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมที่สุด
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาลและโรคไข้เลือดออกในชุมชน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ
  4.จัดกิจกรรมประกวดหมู่บ้านปลอดลูกนำยุงลาย
  5.สนับสนุนการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยการวิธี 5 ป 1ข และใช้ทรายอะเบท สารกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  -กิจกรรมเก็บขยะ 2 ข้างทาง   6.ควบคุมทำลายตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีด้วยหมอกควัน หรือการพ่นฝอยละออง ขณะพบผู้ป่วยในช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออก
    -พ่นหมอกควันป้องกัน ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด เดือนละ 1 ครั้ง (ตามแผนกิจกรรมแนบท้าย) 7.จัดประกวดครัวเรือน / หมู่บ้านต้นแบบโดยเกณฑ์การประกวดประกอบด้วย 5 ด้าน คือ   1. ด้านควบคุมโรค   2.ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม   3.ด้านความสะอาด   4.ด้านความร่วมมือ   5.ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 8.การสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย โดยการให้ อสม.ต่างหมู่บ้านสำรวจ 9.สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ และประเมินผลการดาเนินงานทุกเดือน(War Room)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2562 ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 20
    1. ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน generation ที่ 2 ในผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
    2. ค่าHouse Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10) ค่าBreteau Index น้อยกว่าหรือเท่า 50 (BI < 50) ไม่น้อยกว่า  ร้อยละ 80 ของชุมชน และค่า Container Index น้อยกว่า หรือเท่า 10 (CI ≤ 10) ในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงเรียน วัด ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯควรมีค่า CI = 0 ร้อยละ 100
    3. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
    4. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
    5. มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2562 15:56 น.