กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L1475-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านมาบบอน
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2562 - 2 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 18,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิตรา ด้วงชู
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง) ในปี 2561 สูงถึง 25,225 ล้านบาทต่อปี และเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2,465 ล้านบาทต่อปี ประมาณการจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน จะสูญเสียค่ารักษาทั้งสิ้น 79,263 ล้านบาทต่อปี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของประชากร ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรผลต่อความยากจนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม ดังนั้น การสนับสนุนให้ประชาชนเห็นความสำคัญใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและรู้ค่าตัวเลขระดับความดันโลหิตสูงของตนเอง จะทำให้เกิดความตระหนักในการป้องกันควบคุมและลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (1) การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด (2) ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ (3) งดการสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา (4) ควรรับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ (5) การทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ (กรมควบคุมโรค, 2561) จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน ปี 2562 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 10.12, สงสัยป่วย 31 คน คิดเป็นร้อยละ 2.36 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 4.80 และสงสัยป่วย 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.62 ดังนั้น ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้ได้ผลทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จำเป็นต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม และทักษะที่จำเป็นด้านสุขภาพ ตลอดจนการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งนี้หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การดูแลและให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกบริโภคอาหารให้ครบ ๕ หมู่ มีความหลากหลายและพอเพียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อควบคุมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงไม่ให้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย และเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพในชุมชน
  1. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่
    1. ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ปกติ
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น และภาวะอ้วนลงพุงโดยอสม. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง
    1. เขียนโครงการ และกำหนดแผนปฏิบัติงาน
    2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
    4. อบบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
    5. ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ครั้ง (วันที่ 6 สิงหาคม 2562)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถควบคุม และดูแลตนเองไม่ให้ป่วยเป็นผู้ป่วยรายใหม่
    1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
    2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 09:14 น.