กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L1475-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านมาบบอน
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มิถุนายน 2562 - 13 มิถุนายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 15,825.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิตรา ด้วงชู
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 สถิติสาธารณสุขล่าสุดของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ปี 2554 พบสตรีไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม 34,539 คน เสียชีวิต 2,724 คน เฉลี่ยวันละ 7 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ถึง 711 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไปทุกคน ซึ่งมีจำนวนประมาณ 19 ล้านคน มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม และโรคนี้ถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบและลุกลามไปทั่วแล้ว การรักษามักไม่ได้ผล ส่วนใหญ่จะเสียชีวิต ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การค้นหาก้อนมะเร็งให้เร็วที่สุด หากพบเร็วจะมีโอกาสที่รักษาหายและรอดชีวิตสูง
มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีไทยรองจากมะเร็งเต้านม จากรายงานของ WHO/ICO Information Centre on HPV and Cervical Cancer (HPV Information Centre), Human Papillomavirus and Related Cancers in Thailand, Summary Report 2016 ได้รายงานในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีประชากรสตรีที่เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก 26.09 ล้านคน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ 9,999 ราย เสียชีวิต 5,216 ราย หรือประมาณร้อยละ 53 เฉลี่ยวันละ 14 คน อุบัติการณ์โดยรวมของมะเร็งปากมดลูกในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาลดลงเพียงเล็กน้อย แต่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังคงสูงในระดับนี้โดยไม่มีมาตรการหรือยุทธวิธีใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาป้องกัน คาดว่าในปี พ.ศ. 2568 จะมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นเป็นปีละประมาณ 13,082 คน เสียชีวิต 7,871 ราย สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกยังไม่ทราบแน่ชัด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2560) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีงบประมาณ 2562 จะต้องดำเนินการคัดกรองมะเร็งเต้านมให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 จากกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวนทั้งหมด 897 คน ซึ่งได้รับการตรวจโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และตรวจโดยเจ้าหน้าที่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการลดปัญหาสาธารณสุขจากโรคดังกล่าวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งเต้านมในสตรี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2. เพื่อให้สตรีในรายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อรักษา 3. เพื่อให้สตรีมีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตนและเห็นความสำคัญในการตรวจคัดโรคเบื้องต้น
  1. ร้อยละ 80 ของสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองได้
  2. ร้อยละ 80 ของสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตนและเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น
  3. ร้อยละ 100 ของสตรีในรายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับตรวจซ้ำโดยเจ้าหน้าที่ และส่งต่อเพื่อรักษา
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน
  2. ประชุมชี้แจงอสม. ในการสำรวจกลุ่มเป้าหมายในละแวกพื้นที่รับผิดชอบ       3. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องโรคมะเร็งเต้านม อันตรายของโรค การฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และประโยชน์ของการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น
  3. จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกวันพุธบ่าย
  4. ส่งต่อในรายที่มีผลการคัดกรองผิดปกติเพื่อรับการรักษา
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองได้
  2. สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ในรายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับตรวจซ้ำโดยเจ้าหน้าที่ และส่งต่อเพื่อรักษา       3. สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตน และเห็นความสำคัญในการตรวจคัดโรคเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 10:02 น.