กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านขายของชำปลอดภัยใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L1475-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กรกฎาคม 2562 - 21 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 22,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เชาวน์วุฒิกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่  ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้าน จำนวน 53 ร้าน กระจายในพื้นที่รับผิดชอบ ประชาชนจึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ จากร้านขายของชำในพื้นที่  ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ  ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด  ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน  ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่ายในการนี้  เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภครพ.สต.นาข้าวเสีย  ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครของผู้บริโภคในในพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนายกระดับร้านขายของชำในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำร้านขายของชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเผ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ  ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน 2. เพื่อให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและใช้สินค้าที่ปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย 3.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้บริโภคให้มีความเข็มแข็งและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ 4.เพื่อยกระดับร้านขายของชำในหมู่บ้านให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ

1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพผู้บริโภค 2.สำรวจข้อมูลร้านขายของชำ  ผลิตภัณฑ์และจัดทำทะเบียนข้อมูลพื้นฐานร้านขายของชำในพื้นที่ 3.เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 4.ประสานวิทยากร 5.สาธิตและฝึกปฏิบัติการ การอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สินค้า 6 สาธิตวิธีการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 7.จัดเตรียมเอกสารสำหรับการอบรม 8.สรุปผลการดำเนินงาน 9.รายงานผลการดำเนินงาน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพผู้บริโภค 2.สำรวจข้อมูลร้านขายของชำ ผลิตภัณฑ์และจัดทำทะเบียนข้อมูลพื้นฐานร้านขายของชำในพื้นที่ 3.เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 4.ประสานวิทยากร 5.สาธิตและฝึกปฏิบัติการ การอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สินค้า 6 สาธิตวิธีการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 7.จัดเตรียมเอกสารสำหรับการอบรม 8.สรุปผลการดำเนินงาน 9.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนร้านขายของชำที่เข้าร่วมหลังโครงการฯมากกว่า ร้อยละ 80 2.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ หลังโครงการฯมากว่า ร้อยละ 80 3.ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังโครงการฯมากว่า ร้อยละ 80 4.ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำได้รับการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวัง

  2. จำนวนร้านขายของชำที่เข้าร่วมหลังโครงการฯมากกว่า ร้อยละ 80 2.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ หลังโครงการฯมากว่า ร้อยละ 80 3.ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังโครงการฯมากว่า ร้อยละ 80 4.ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำได้รับการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 15:35 น.