กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี เรามารักษ์ไตกันเถอะ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี. ในปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 18/2562
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 26,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.877,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 26,350.00
รวมงบประมาณ 26,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease; CKD) เป็นปัญหาสาธารณ-สุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เพราะมีความชุกที่สูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคไตเรื้อรังแบ่งตามความรุนแรงของโรคเป็น 5 ระยะ ซึ่งจากการศึกษาระบาดวิทยาโรคไตเรื้อรังในชุมชนของประเทศไทย (Thai SEEK Study)พบความชุกของโรคจากระยะที่ 1-5 เท่ากับร้อยละ 3.3, 5.6, 7.5, 0.8 และ 0.3 ตามลำดับ โดยความชุกของโรคไตเรื้อรังจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น มีประชากรเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ทราบว่าตนกำลังเป็นโรคไตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคไตเรื้อรังระยะ ที่ 1-3 ซึ่งเป็นระยะที่สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ดีนั้น มีผู้ที่รู้ตัวว่าเริ่มมีโรคไตเพียงร้อยละ 0.79, 2.06 และ 5.63 ตามลำดับซึ่งการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบเพราะในระยะแรกของโรคผู้ป่วยส่วน ใหญ่ไม่มีอาการผิดปรกติ และเมื่อมีอาการโรคมักดำเนินไปมากแล้ว นอกจากนี้โรคไตเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิต เมื่อโรคดำเนินไปสู่ระยะที่ 5 และเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease; ESRD) จะทำให้การพยากรณ์ของโรคแย่ลง มีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ตลอดจนค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อคนต่อปี ดังนั้นหากมีระบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและค้นพบผู้ป่วยในระยะ แรกของโรค และให้ความรู้เรื่องอาหารและการปฏิบัติตัว รวมถึงให้ยาที่เหมาะสม จะสามารถป้องกันและชะลอการเสื่อมของหน้าที่ไตได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าการสูญเสียทรัพยากรไป ใช้ในการรักษาระยะท้ายของโรค         จากข้อมูลของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยในปีพ.ศ.2555 พบว่าโรคไตเรื้อรังมีสาเหตุจากโรคเบาหวานมากที่สุด (ร้อยละ 37.5) รองลงมาคือ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 25.6), โรคที่มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วทางเดินปัสสาวะ (ร้อยละ 4.3) และโรค chronic glomerulonephritis (ร้อยละ 2.4)
ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปี 2561 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 335 ราย โรคเบาหวาน 216 ราย พบผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตร่วมด้วยจำนวน 61 ราย (จากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Centre) เมื่อ 31/1/2562 และจากการสำรวจพื้นที่ตำบลตันหยงลุโละพบว่า แนวโน้มของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและลดโรคไต จึงเห็นสมควรจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น เพื่อค้นหา ป้องกัน และชะลอภาวะไตเสื่อม ของประชาชนชาวตำบลตันหยงลุโละให้ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตำบลตันหยงลุโละได้ตระหนักถึงภยันตรายของโรคไต เรื้อรัง และตรวจหาผู้ป่วยที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ให้เข้ามาสู่ระบบการรักษาที่เหมาะสม

จำนวนประชาชนตำบลตันหยงลุโละได้ตระหนักถึงภยันตรายของโรคไต เรื้อรัง และตรวจหาผู้ป่วยที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ให้เข้ามาสู่ระบบการรักษาที่เหมาะสม

193.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,350.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 เวทีแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับไต ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ตรวจเฝ้าระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 0 26,350.00 -

-ตั้งคณะทำงาน -ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการโครงการ
-ตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการก่อนดำเนินการ
-สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ -.จัดเวทีแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับไต ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ตรวจเฝ้าระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน และความดันโลหิตสูง -.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคแทรกซ้อน -.จัดทำสื่่อสำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง -.สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนตำบลตันหยงลุโละได้ตระหนักถึงภยันตรายของโรคไต เรื้อรัง และผู้ป่วยที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ได้เข้ามาสู๋ระบบการรักษาที่เหมาะสม
  2. เกิดระบบการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงได้และชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว
  3. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ทั้งในกลุ่มเสี่ยงที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละและในชุมชน ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 10:22 น.