กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมประชากรกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 62-L1475-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2562 - 26 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 22,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เชาวน์วุฒิกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม จากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชากรกลุ่มป่วยในปี 2561  จำนวน 447  ราย พบผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด  แยกเป็นระดับตามความเสี่ยงดังนี้ ระดับ 5 จำนวน 1 ราย ระดับ 4 จำนวน 5  ราย และระดับ 3 จำนวน 7  ราย  และผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 2 ราย  มีประชากรกลุ่มป่วยกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 5 จำนวน 4 ราย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมประชากรกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง เพื่อให้การดำเนินงาน บรรลุตามตัวชี้วัดงานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประจำปี 2562 และจัดบริการในระดับปฐมภูมิเป็นไปอย่างมีคุณภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ประชาชนกลุ่มป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน 3. กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานโดยใช้หลัก 3อ.2ส และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพด้วยปิงปองจราจร  7 สี 4.จัดกิจกรรมประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยแบบตนเตือน ตน 3อ 2ส ในกลุ่มป่วย 5.ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดย อสม. และเจ้าหน้าที่
  2. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

50 ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง  สามารถควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ ในเกณฑ์ปกติ
        2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 10:39 น.