กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนบ้านคลองขุดรักษ์สะอาดปราศจากโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L5313-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านคลองขุด ม.9 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 33,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลดาวัลย์ วงศ์น้ำรอบ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.883971907215,99.815554618835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยูอาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง พบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่าหรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบขยะเกลื่อนกลาดตามบ้านเรือนและริมถนน พื้นที่บ้านคลองขุด หมู่ที่ 9 ตำบลละงู เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก ดังนี้ ปี2559 จำนวน 7 ราย ปี 2560 จำนวน 1 ราย ปี 2561 จำนวน 9 ราย เมื่อพิจารณาแผนที่ทางระบาด พบว่ามีการกระจายตามแนวถนนสายหลักในหมู่บ้านและเป็นพื้นที่ที่่มีเศษขยะ ของเก่าตามรายทาง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ดังนั้นเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้าน จึงต้องมีการป้องกันโดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย การสร้างความเข้าใจ ความตระหนักแก่ประชาชนให้เกิดความร่วมมืออย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อลดปริมาณขยะ แหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในหมู่บ้าน

จัดกิจกรรม big cleaning day จำนวน 7 ครั้ง ถนนและสถานที่สาธารณะสอดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
3 3.เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า ปี 2561

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,100.00 3 33,100.00
??/??/???? อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 0 9,800.00 9,800.00
??/??/???? ประชุมรายงานสถานการณ์โรคประจำเดือน 0 20,300.00 20,300.00
??/??/???? ประชุมสรุปผลการดำเนินงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 3,000.00 3,000.00

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ 2.อบรมให้ความรู้ การป้องกัน ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.รณรงค์กำจัดขยะ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วย ปี 2562 ลดลง 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตน จนเกิดนิสัย รักษ์สะอาด 3.ส่งเสริมให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 00:00 น.