กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนคนคลองน้ำเค็มรักสะอาดปราศจากโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L5313-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 16 บ้านคลองน้ำเค็ม
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 39,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายม่ากน สาเล่หมัน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.8753839895632,99.83666766385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยูอาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง พบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่าหรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบขยะเกลื่อนกลาดตามบ้านเรือนและริมถนน พื้นที่บ้านคลองน้ำเค็ม หมู่ที่ 16 ตำบลละงู เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก ดังนี้ ปี2559 จำนวน 20 ราย ปี 2560 จำนวน 3 ราย ปี 2561 จำนวน 3 ราย เมื่อพิจารณาแผนที่ทางระบาด พบว่ามีการกระจายตามแนวถนนสายหลักในหมู่บ้านและเป็นพื้นที่ที่่มีเศษขยะ ของเก่าตามรายทาง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ดังนั้นเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้าน จึงต้องมีการป้องกันโดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย การสร้างความเข้าใจ ความตระหนักแก่ประชาชนให้เกิดความร่วมมืออย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อลดปริมาณขยะ แหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในหมู่บ้าน

จัดกิจกรรม big cleaning day จำนวน 6 ครั้ง

0.00
3 3.เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

อัตราผู้ป่วยน้อยกว่า ปี 2561

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,600.00 3 39,600.00
??/??/???? อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 0 9,800.00 9,800.00
??/??/???? ประชุมรายงานสถานการณ์โรคประจำเดือน 0 26,300.00 26,300.00
??/??/???? ประชุมสรุปผลการดำเนินงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 3,500.00 3,500.00

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ 2.อบรมให้ความรู้ การป้องกัน ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.รณรงค์กำจัดขยะ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4.จัดทำระบบรายงานค่า HI CI ออนไลน์ 5. จัดกิจกรรม Big cleaning day

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วย ปี 2562 ลดลง 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตน จนเกิดนิสัย รักษ์สะอาด 3.มีระบบรายงานค่า HI CI ออนไลน์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2562 00:00 น.