กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศูนย์ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรงพยาบาลนาหม่อม ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5207-1-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาหม่อม
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 28,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลนาหม่อม
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.965,100.529place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช๋นการให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส การให้ยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอสไอวีจากแม่สู่ลูก การให้ยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น มีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรงพยาบาลนาหม่อมเห็นความสำคัญในการดุแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนาหม่อม ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินการให้บริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ได้จัดรูปแบบบริการ เป็นคลินิก One Stop Service เน้นการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ผู้ให้คำปรึกษาและนักเทคนิคการแพทย์ รวมทั้งกลุ่ม/เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จังหวัดสงขลา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการสนับสนุนให้ผู้ป่วยเอดส์ได้เข้าถึงโครงการยาต้านไวรัสเอดส์ มีการตรวจรักษาในคลินิกต้านไวรัสเอดส์ มีการจัดกิจกรรมกลุ่มทั้งด้านวิชาการและสันทนาการเดือนละ 1 ครั้งโดยมีทีมสหวิชาชีพข้างต้นร่วมกับหนุนเสริมจากเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์จังหวัดสงขลา เป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและช่วยเหลือเพื่อนในการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุขให้นานที่สุด ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 มีผู้ป่วยเอดส์ในเขตพื้นที่อำเภอนาหม่อม ทั้ง 4 ตำบล เข้าโครงการรับยาต้านไวรัสเอดส์ เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน ที่โรงพยานาหม่อม จำนวน 55 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยในเขตตำบลนาหม่อม จำนวน 23 ราย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นสามีและภรรยาของผู้ป่วยในโครงการมาร่วมกิจกรรมกลุ่ม จำนวน 4-5 ราย จากความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการยาต้านไวรัสเอดส์มีภูมิคุ้มกันโรคสูงขึ้น สุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้น ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการยาต้านไวรัสเอดส์และกิจกรรมกลุ่ม เน้น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ติดตามเพื่อนที่ไม่รับยาตามนัด ถ่ายทอดวิชาการให้หสมาชิกทราบในวันจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการดูแลที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องและได้รับประโยชน์สูงสุด มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างมีคุณภาพ โดยนำรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชิ้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ระบบโปรแกรม NAP plus และโปรแกรม HosXp มาใช้ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานและแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและมีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการ เพื่อการเข้าถึงบริการดูแลรักษาและลดการตีตราและเลือกปฏิบัติควบคู่ไปกับมาตรการหลักในการป้องกันและดูแลรักษาที่มุ่งเน้น RRTTR เพื่อรองรับนโยบาย "การเรียนรู้เร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์" ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บริการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์คลินิกยาต้าน ครบวงจร (One Stop Service) ได้มาตรฐานโดยใช้โปรแกรม NAP plus และ โปรแกรม HosXp

1.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่รับยาต้านฯ กดเชื้อไวรัสสำเร็จ > 90% 2.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์กินยาต้านตรงเวลา ถูกต้อง สม่ำเสมอ ไม่ขาดยา 100 % 3.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่รับยาต้านฯ เกิดเชื้อดื้อยา <2%

0.00
2 เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องโรคเอดส์ในชุมชน การเข้าถึงบริการ การตรวจเลือดและยาต้านไวรัส เพื่อนำไปสู่ getting to zero

1.ผู้รับบริการที่วินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัส >90%

0.00
3 เพื่อให้นักเรียน/ประชาชน มีความรู้ทักษะในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/โรคเอดส์

1.ร้อยละความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/โรคเอดส์ > 80 %

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27.00 0 0.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมย่อย กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในคลินิกยาต้านไวรัสแบบ One Stop Service 0 24.00 -
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมย่อย กิจกรรมให้ความรู้ "ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลเมตาโบลิซึมจาการใช้ยาต้รานไวรัส" 0 1.00 -
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมย่อย กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 0 0.00 -
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมย่อย ทีมสหวิชาชีพร่วมประเมินผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
18 เม.ย. 62 กิจกรรมย่อย "ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/โรคเอดส์/อนามัยเจริญพันธ์" 0 2.00 -

1.ประชุมคณะกรรมการการทำงาน 2.วางแผนจัดทำโครงการ 3.เสนอโครงการต่อกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหม่อมเพื่อพิจารณา 4.ดำเนินกิจกรรมตามแผน 5.รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ แก้ปัญหา วางแผนเพื่อปรับปรุงแก้ไข พัฒนาต่อไป ผลที่คาดว่าจะได้รับ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ติดเชื้อเอสไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการดูแลรักษาแบบครบวงจร (One Stop Service) และมารับยาตามนัดต่อเนื่อง รับประทานยาสม่ำเสมอและไม่มีภาวะเกิดเชิ้อดื้อยา 2.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการยอมรับจากสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3.เด็ก ป4 - ป.6 และ ม.1 - ม.6 มีความรู้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์/โรคเอดส์ และอนามัยเจริญพันธุ์สามารถนำไปปรับใช้ในการเนินชัวิตประจำวันต่อไป 4.บุคลากรไม่ตีตราและเลือกปฎิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลัก 5.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ได้รับการดูแลคุณภาพมาตรฐานการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ตามระบบโปรแกรม Nap plus และโปรแกรม HosXp

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 13:11 น.