กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเชิงรุกสู่ชุมชน ทุกกลุ่มวัย พื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง ในเขตเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 62-L7250-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ (นางลักษณา หวัดเพ็ชร) ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 90,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางลักษณา หวัดเพ็ชร) ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 406 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นแนวคิดด้านสุขภาพที่มองบุคคลทั้งชีวิตครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ วิญญาณและสังคม ที่มีความเชื่อมโยงเป็นเป็นหนึ่งเดียวกัน หน่วยบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสุขภาพชุมชนใจกลางเมือง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สงขลา เป็นหน่วยงานให้บริการสุขภาพชุมชน ๔ มิติ แบบองค์รวม  ในพื้นที่ ๖ ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านบน , ชุมชนมัสยิดบ้านบน , ชุมชนเมืองเก่า , ชุมชนสานฝัน , ชุมชนสวนหมาก และชุมชนดอนรัก รับผิดชอบประชากรจำนวน ๘,๔๔๒ คน จำนวน ๓,๔๐๙ หลังคาเรือน มีโรงเรียนในความรับผิดชอบ ๓ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนหวังดี โรงเรียนสตรีวชิรานุกูลและโรงเรียนวรนารีเฉลิม มีวัดรับผิดชอบจำนวน ๔ วัด คือ วัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดดอนแย้ วัดเลียบ วัดยางทอง รวมทั้ง ๑ มัสยิดในชุมชนมัสยิดบ้านบน ข้อมูลปี ๒๕๖๑ พบว่าประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๓,๕๖๘ คน ได้รับคัดกรองสุขภาพจำนวน ๒,๙๕๘ คน คิดเป็น ๘๒.๙๐% พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง จำนวน ๒๙๔ คน คิดเป็น ๘.๒๕% มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน ๑,๕๔๗ คน มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง จำนวน ๒๖ คน คิดเป็น ๑.๖๘ % เด็กอายุ ๐-๓ ปี จำนวน ๙๔ คนมีภาวะน้ำหนักน้อยต่ำกว่าเกณฑ์ ๑๐ คน คิดเป็น ๑๐.๖๓ % มีผู้สูงอายุ จำนวน ๑,๙๖๑ คน มีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๔ คน คิดเป็น ๔.๙ ต่อแสนประชากร จากปัญหาข้อมูลดังกล่าวศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการที่จะดูแลส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเชิงรุกสู่ชุมชนขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุมทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนทุกกลุ่มวัย

-ร้อยละ ๑๐๐ ของเด็กอายุ ๐-๓ ปี ไม่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน -ร้อยละ ๙๐ ของเด็กอายุ ๐-๓ ปี มีภาวะโภชนาการ พัฒนาการสมวัย -ร้อยละ ๑๐๐ ของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการได้รับการรักษา ส่งต่อ

90.00
2 ๒. เพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

-อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ ๑๐ จากค่ามัธยฐาน๕ปีย้อนหลัง -โรงเรียน/ชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ร้อยละ ๘๕ -อัตราป่วยโรคติดต่อลดลง

0.00
3 ๓. เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ

-ร้อยละ๘๐ ของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
-กลุ่มโรคเรื้อรังเบาหวานความดันที่รับการรักษาที่  PCU ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรค  ร้อยละ ๙๐ -ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ ๕ -ร้อยละ ๘๐ ของสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ -ร้อยละ ๒๐ ของสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

0.00
4 ๔. เพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

-ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน
-สมาชิกมีสุขภาพกายและจิตอยู่ในระดับดีมากกว่าร้อยละ ๗๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ จิตอาสา แกนนำสุขภาพ ตลอดทั้งติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ
๒.คัดกรองสุขภาพกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๓.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ ๐ -๓ ปี ในชุมชน ๔.กิจกรรมค้นหาและรณรงค์ให้ความรู้/ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกในสถานบริการและในชุมชน     ๕.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SHGและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ. ๒ ส.ในในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง ๖.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคติดต่อเชิงรุกสู่ชุมชน/โรงเรียน     ๗.กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุทุกวันศุกร์สัปดาห์แรกของเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานแบบองค์รวมและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2562 09:50 น.