กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักจัดการสุขภาพประจำครอบครัวดูแลสุขภาพดี ทุกกลุ่มวัย ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L8406-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายก็หลัด บินหมาน
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กะเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค และปรับเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 1. กลุ่มเด็ก 0-5 ปี 2. กลุ่มสตรีมีครรภ์ 3. กลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 4. กลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช 5. กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน และ 6. กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน และ การส่งเสริม ให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น อย่างเสมอภาคเป็นธรรม นั้น การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว  กลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ  คือการมีหมอประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอและสามารถพึ่งพา ได้ทุกเมื่อ เพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน รวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างแกนนำประจำครอบครัว เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือนสามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและ การฟื้นฟูสภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมา ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินการ จัดทำฐานข้อมูลแต่ละกลุ่มวัยการพัฒนาช่องทางการสื่อสาร ผ่านทางกลุ่มไลน์ ในการรายงานการติดตาม การขอคำปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งทำให้เกิดความรวดเร็ว ทันสมัย ในการให้บริการเชิงรุก แต่ยังพบว่า ในแต่ละกลุ่ม ยังขาดความรู้ ทักษะ การสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง และพบว่า ยังมีบางครอบครัว ที่ผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาส ยังขาดการดูแลที่เหมาะสม ทำให้ขาดคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อต่อยอด จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ให้เกิดกระบวนการ การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย ขึ้น เพื่อ สร้าง พัฒนา นักจัดการสุขภาพในพื้นที่เพิ่มขึ้น และ ให้มีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ขึ้น เพื่อเชื่อมการทำงานในระดับชุมชน สู่การดูแลในระดับครอบครัว เพื่อพัฒนาระบบการออกเยี่ยมบ้าน การออกแบบการช่วยเหลือร่วมกันในการดูแล การติดตาม หรือการประสานงานภาคีเครือข่ายภายนอก ในการร่วมช่วยเหลือในการดำเนินชีวิต กรณีผู้ด้อยโอกาส และ เพื่อให้เข้าถึงบริการคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือน สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อขยายผลการพัฒนารูปแบบคลินิกหมอครอบครัวในพื้นที่ ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักสุขภาพประจำครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย

-มีเครือข่ายนักสุขภาพประจำครอบครัว ร้อยละ 100

0.00
2 2 เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการติดตามเยี่ยมและการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

-ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมและการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 100

0.00
3 3 เพื่อนำผลการติดตามเยี่ยมหากพบรายผิดปกติสามารถส่งต่อและรับการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

-ประชาชนที่ได้รับการเยี่ยม พบความผิดปกติ ส่งต่อ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,735.00 0 0.00
19 เม.ย. 62 1. จัดเวทีพัฒนา ทักษะทีมเครือข่ายนักสุขภาพประจำครอบครัว 0 12.00 -
19 เม.ย. 62 2. จัดเวทีเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย 0 23.00 -
19 เม.ย. 62 3. ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ 0 3,700.00 -
  1. จัดเวทีพัฒนา ทักษะทีมเครือข่ายนักสุขภาพประจำครอบครัว (อสม. อบต. ผู้นำชุมชน หมอประจำครอบครัว) โดยเป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านๆละ 5 คน จนท. จำนวน 10 คน รวม 50 คน จำนวน 2 วัน

- วิเคราะห์ข้อมูลรายกลุ่มวัย - ออกแบบรูปแบบการเยี่ยมบ้าน แบบมีส่วนร่วม/กำหนดบทบาทหน้าที่/จัดทำแผน - มีการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน โดยมีประจำครอบครัวเป็นพี่เลี้ยง - สรุปข้อเรียนรู้ / แนวทางการติดตาม

  1. จัดเวทีเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชน อาสาสมัครประจำครอบครัว ในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 2 วัน จำนวน 100 คน (จาก 8 หมู่บ้าน) เพื่อการส่งเสริมความรู้การจัดการสุขภาพในชุมชนและการติดตามเยี่ยม
    2.1 เด็ก 0-5 ปี 2.2 กลุ่มสตรีมีครรภ์ 2.3 กลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 2.4 กลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช 2.5 กลุ่มผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช 2.6 กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน 2.7 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน
    1. จัดทำแผนปฏิบัติงานและออกเยี่ยมในชุมชนและสนับสนุนชุดเยี่ยมบ้านแก่ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
    2. ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ ร่วมกับทีมหมอประจำครอบครัว ในการดูแล แนะนำ ให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพในกลุ่มเป้าหมาย
    3. นักสุขภาพประจำครอบครัว ติดตามต่อเนื่อง โดยเป็นพี่เลี้ยง ให้แก่ อาสาสมัครประจำครอบครัว หากในรายที่พบความผิดปกติและการช่วยเหลือ ประสานทีมหมอประจำครอบครัวต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 100 และกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ร้อยละ 85 พร้อมทั้งมีเครือข่ายแกนนำด้านสุขภาพในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2562 11:03 น.