กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กเล็กสุขภาพอนามัยดี มีพัฒนาการสมวัย
รหัสโครงการ 62-L5294-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางสุกัลยา สอเหลบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 50,080.00
รวมงบประมาณ 50,080.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเล็กหรือเด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรหนึ่งที่มีค่า ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในอนาคต ตามนานาอารยประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมและสิ่งที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพตามคุณลักษณะพึงประสงค์ได้นั้นก็คือ “การศึกษา” ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเตรียมความพร้อม และการส่งเสริมมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากสถานการณ์ปัจจุบัน สังคมไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาหลายๆด้าน มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อสร้างเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นพลเมืองเด็กและเยาวชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ สังคมในยุคสื่อหลอมรวม แม้จะมีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น แต่สื่อที่เหมาะสมกับเด็กกลับเข้าถึงเด็กและเยาวชนในปัจจุบันได้น้อยมากโดยมีปริมาณการเข้าถึงสื่อรวมกันไม่ถึงร้อยละ 10 โดยเด็กใช้เวลาไปกับการใช้สื่อสูงถึง 8 – 9 ชั่วโมงใน 1วัน เกิดพฤติกรรมอันนำไปสู่ทุกขภาวะ เช่น พฤติกรรมเด็กติดเกม การเสพติดสื่อออนไลน์ การติดหน้าจอ การบริโภคขนมขบเคี้ยว และพฤติกรรมเนือยนิ่ง ขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เกิดโรคอ้วน โรคสมาธิสั้น โรคทางสายตา อารมณ์แปรปรวนและรุนแรง และความเสื่อมถอยทางทักษะการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่พึงจะมีในด้านสุขภาวะทางกายของเด็ก ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทยเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ข้อมูลจากการแถลงข่าวใน ปี 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาวะโภชนาการในเด็กเล็กจากผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 (MICS 5) พบว่าภาวะโภชนาการเมื่อเทียบกับปี 2555 (MICS 4) ดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 6.7 มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 5.4 มีภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน (ผอม) ร้อยละ 10.5 มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง (เตี้ย) และร้อยละ 8.2 มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (อ้วน) เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) เด็กจะใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำให้คาดการณ์ว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีเด็กไทยถึง 1 ใน 5 ที่อยู่ในภาวะอ้วน และนอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาล่าช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น ก็ยังมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดยเฉพาะ โรคฟันผุ โดยสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ถูกต้อง การทำความสะอาดไม่ถูกวิธี และพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง รวมทั้งปัญหาที่เด็กป่วยจากการติดเชื้อโรคติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อที่พบบ่อยๆเช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดงโรคผิวหนัง โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น คางทูม อีสุกอีใส และหัด เป็นต้น ซึ่งปัจจัยและปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การเจ็บป่วยบ่อยๆทำให้เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญาที่ลดลงเรื่อยๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสถานที่ที่เด็กๆ จะได้รับการพัฒนาในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สมอง การเรียนรู้ บุคลิกภาพ รวมทั้งการปลูกฝังการเป็นพลเมืองที่ดี มีทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างมีสุขภาวะดีครบทุกด้านและเป็นพลเมืองดีของสังคมและจากการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน ซึ่งมีเด็กทั้งหมด จำนวน 100 คน ได้มีการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก พบว่าเด็กร้อยละ17 ที่จะต้องเฝ้าระวังด้านภาวะโภชนาการ เด็กร้อยละ 51 ที่เป็นโรคฟันผุ และเด็กร้อยละ48ป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆที่จะต้องมีมาตรการในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรค เช่น โรคมือ เท้า โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหวัดบ่อยๆและเด็กร้อยละ48 ที่จะต้องส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัย ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน จึงได้มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการดูแลและส่งเสริมให้เด็กเล็กมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ สุขภาพอนามัยที่ดีและมีพัฒนาการอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา จึงได้จัดทำโครงการ “เด็กเล็กสุขภาพอนามัยดี มีพัฒนาการสมวัย”ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก และครู/ผู้ดูแลเด็ก ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และเพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีทักษะการดูแลตนเอง โดยความร่วมมือของโรงพยาบาลอำเภอทุ่งหว้า ส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน องค์บริหารส่วนตำบลนาทอน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดีมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัยและผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพอนามัยและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย

1.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง ครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง และนำไปปฏิบัติใช้กับเด็กวัย 2-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการดูแลตนเองและมีสุขนิสัยที่ดีทุกคน
3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันผุลดลงและผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

1.ร้อยละ 80ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นและมีฟันผุลดลง
2.ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
3.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก ที่มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

0.00
3 เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก ในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและเด็กมีเจตคติที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

1.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
2.ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กมีเจตคติที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
3.เด็กทุกคนมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,080.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ 0 2,340.00 -
??/??/???? กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการในเด็กปฐมวัย 2-5 ปี 0 24,740.00 -
??/??/???? กิจกรรมยิ้มสดใส ห่างไกลฟันผุ 0 12,020.00 -
??/??/???? กิจกรรมอาหารดีมีโภชนาการสมวัย 0 10,980.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดีมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัยและผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพอนามัยและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2.ทำให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันผุลดลงและผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย 3.ความรู้ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก ในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและเด็กมีเจตคติที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2562 00:00 น.