กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 3 อ2ส หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปี 2562

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 3 อ2ส หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5293-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 11,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุวดี ชาวสวน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีอัตราป่วยเพิ่มสูงขึ้น จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบความชุกของโรคเบาหวานในประเทศไทยในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๖.๙ ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นร้อยละ๘.๙ ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO,๒๐๑๓) พบว่าโรคความดันโลหิตสูงจะมีความชุกของโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงเป็น ๑.๕๖ พันล้านคน ซึ่งโรคเหล่านี้มาจากพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่เหมาะสม เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม รสจัด รวมทั้งการไม่ชอบรับประทานผักสดและผลไม้ มีภาวะความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดสตูล จากการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน ๙๙,๔๐๑ คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานทั้งหมด ๑๒,๔๐๘ คน คิดเป็น ๑๒.๕๖% และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๘๗,๓๗๘ คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๑๒,๔๐๘ คน คิดเป็น ๑๔.๒๐% ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในอำเภอทุ่งหว้าจากการคัดกรองโร๙๓ คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานทั้งหมด ๒๔๘ คน คิดเป็น ๑๕,๕๖% และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๑,๓๖๓ คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๒๙๘ คน คิดเป็น ๒๑.๘๖% ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตชุมชนหมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งปรือ จากการคัดกรองปี ๒๕๖๑ จำนวน ๓๓๕ คน พบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๒๘ คน คิดเป็น ๑๐.๗๑% และประขากรจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๑๕๒ คน พบมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงถึงจำนวน ๒๘ คน คิดเป็น % ซึ่งมีอัตราเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไปในอนาคตได้         ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 3อ.2ส. หมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งปรือ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ปี ๒๕๖๒ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างถูกต้องและเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ ๘๐

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนหมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งปรือ มีทักษะในการออกกำลังกายและตระหนักถึงการป้องกันโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้

กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการรวมกลุ่มออกกำลังกายและฝึกทักษะใน ม.๔ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลตนเองได้

0.00
3 ข้อที่ ๓ เพื่อให้ประขาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ในเรื่องของพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส.

ร้อยละ ๘๐ ของสามชิกกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส.

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ - กำหนดโครงการ - ดำเนินการเขียนโครงการ - นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ - จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของโครงการ ระยะดำเนินการ - ค้นหากลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองโดย อสม.ในชุมชนหมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งปรือ และสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง - ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข - ติดต่อวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 3อ.2ส. - จัดกิจกรรมสันทนาการการออกกำลังกาย ระยะประเมินผล - ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ - ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อปรับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในเรื่องของการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ ๒.มีความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. และสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังบุคคลในครอบครัวและชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2562 11:58 น.