กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เสริมพลัง ปรับเปลี่ยน ผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 62-L8411-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 18,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาธินี อับดลุมานะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงตามสภาพจากเดิม พฤติกรรมของแต่ละคนจึงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้องเช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลงไปและมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุกข์ทรมาน ทำให้เกิดความสูญเสียทางทรัพย์สินและชีวิต
จากข้อมูลของระบบข้อมูล HDC โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 618 คน โรคความดันโลหิต จำนวน 445 คน (ร้อยละ 72.00) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 27.99) จำนวน 173 คน ในในปีงบประมาณ 2561 มีผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย ปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ 3 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว มีผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HBA1C จำนวน 125 คนและมีค่า HBA1C อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้คือ น้อยกว่า 7 % จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 16.76 มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 3 รายคิดเป็นร้อยละ 1.73 (ข้อมูลจาก HDC ณ 28/2/2562) ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะรับยาที่ โรงพยาบาลบันนังสตา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ โรงพยาบาลรัฐ/เอกชนที่อื่น ตามความสะดวกของผู้ป่วยและตามภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย
สืบเนื่องจากนโยบายงานโรคเรื้อรังดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี HBA1C น้อยกว่า 7 % มากกว่าเท่ากับ ร้อยละ 40 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว ให้ผู้ป่วยสุขภาพดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ เสริมพลัง ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก เพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
3 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,900.00 1 18,900.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน 0 18,900.00 18,900.00

4.1 ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ 4.2 เสนอโครงการเพื่อให้ประธานพิจารณาอนุมัติ 4.3 วางแผนและดำเนินการโครงการ
4.4 จัดกิจกรรมอบรม และเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน 4.5 ติดตามประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วย 4.6 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วย 4.7 จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน 4.8 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง 9.2 ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ร้อยละ 40 9.3 สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2562 16:29 น.