กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 7
รหัสโครงการ 62-L1513-02-017
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านกลางเหนือ
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2562 - 7 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 6 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 18,832.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมบัติ ศรีทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 118 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
6.71
2 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
66.44
3 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป สงสัยป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน
4.70
4 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป สงสัยป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง
1.34

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม       จากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป พบว่าภายในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านกลางเหนือ มีประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 151 คน ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 149 คน ร้อยละ 98.67 โดยพบว่า ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน 10 คน ร้อยละ 6.71 สงสัยรายใหม่โรคเบาหวาน จำนวน 7 คน ร้อยละ 4.70 และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 99 คน ร้อยละ 66.44 สงสัยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 คน ร้อยละ 1.34 นอกจากนี้ยังพบว่า มีประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะลงพุง จำนวน 77 คน ร้อยละ 48.99 ซึ่งในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการตรวจคัดกรองที่มีมาตรฐานและมีความแม่นยำสูง ซึ่งทางหมู่บ้านยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในการตรวจคัดกรองโรค     จากสถานการณ์และปัญหาดังกล่าว พบว่า ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ภายในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านกลางเหนือ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้น และขาดเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในการตรวจคัดกรองโรค ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านกลางเหนือ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง” เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน และประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีละ 1 ครั้ง และมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการตรวจคัดกรองโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน

90.00
3 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีละ 1 ครั้ง

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีละ 1 ครั้ง

90.00
4 เพื่อให้มีเครื่องมือทางการแพทย์ในการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีเครื่องมือทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 118 18,832.00 0 0.00
7 มิ.ย. 62 อบรมให้ความรู้ 0 5,300.00 -
10 มิ.ย. 62 - 7 ก.ค. 62 การคัดกรอง 118 13,532.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน     2.2 จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการตรวจคัดกรองโรค     2.3 คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะลงพุง จำนวน 118 คน     2.4 ประเมินผลการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะลงพุง     2.5 ดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  3. ขั้นสรุปโครงการ     3.1 สรุปผลโครงการ     3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน
  3. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีละ 1 ครั้ง
  4. มีเครื่องมือทางการแพทย์ในการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2562 15:08 น.