กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดละเลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีคนทุ่งเลียบ
รหัสโครงการ 2562-L5275-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 24 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนินราหม๊ะ หมัดอาดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมี การประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้ จังหวัดสงขลา จะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้ มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่าง แพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยง เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และจากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปีของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะ ประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น หรือแหล่งเที่ยวท่องต่างๆ จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษ สิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้าน/แผงจำหน่ายอาหาร เนื่องด้วยปีงบประมาณ2561 หมู่ที่2 บ้านทุ่งตำเสา ได้ผ่านเกณฑ์ประเมิน ได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100 % ระดับทอง จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้รับมอบประกาศเกียรติคุณจากนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2562 จึงขยายพื้นที่ไปยังหมู่ที่1 บ้านทุ่งเลียบเพื่อเป็นหมู่บ้านปลอดโฟม ด้วยบริบทของพื้นที่หมู่ที่1 มีโรงเรียน ตลาด และเป็นทางผ่านโดยสารไปสนามบิน จึงเป็นพื้นที่เหมาะสมที่ต้องดำเนินการตามนโยบายของจังหวัดสงขลาเพื่อให้สอดคล้องกับ เมืองสงขลาน่าอยู่ ภายในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา รวมทั้งหมด 8 ร้าน แยกเป็นร้านจำหน่ายอาหาร 1 ร้าน แผงลอยจำหน่ายอาหาร 7 แห่ง ตลาด 2 แห่ง และโรงอาหาร 1 โรง เมื่อดูจากตัวเลขการเข้าร่วมเป็น ร้าน/แผงจำหน่ายอาหารปลอดโฟม นับว่ายังไม่อยู่ในระดับที่สามารถแก้ไขปัญหาการลดใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุ อาหารได้ และจะส่งผลกระทบต่อการกำจัดต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร เป็นหน่วยงานนำร่อง ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม บรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ของตำบลทุ่งตำเสา ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหาร ปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้ จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

1.มีพื้นที่ต้นแบบปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ๑๐๐% ปี ๒๕๖2
        -หมู่บ้านทุ่งเลียบปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร         -ตลาดนัดทุ่งเลียบปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร         -โรงเรียนทุ่งเลียบปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร
        -ร้านค้าปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทน

2.ผู้ประกอบการค้าอาหาร  ผู้บริโภค  ครู  นักเรียนมีพฤติกรรมไม่ใช้ภาชนะโฟมหันมาใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทน  เช่น กล่องชานอ้อย,กล่องไปโอโฟม ถ้วยทำจากมันสำปะหลัง  จานทำมาจากข้าวโพดและวัสดุจากธรรมชาติ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการและจัดทำโครงการ 2.เดินรณรงค์ในตลาด 2 ครั้ง เดือน มิถุนายนและสิงหาคม กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการร้าน แผงลอย ตัวแทนผู้บริโภค อสมเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร ภายใต้สโลแกน“Thungleab Say No  To Foam” และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จำนวน180 คน -ในตลาด ๑.1 ผู้ประกอบการค้าอาหาร ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในตลาดทุ่งเลียบ และตัวแทนผู้บริโภค จำนวน 100 คน
1.2 อสม. และเจ้าหน้าที่รพ.สต.ทุ่งตำเสา จำนวน 80 คน -ในโรงเรียน ๒. ครู นักเรียน ผู้ประกอบการ โรงเรียนบ้านทุ่งเลียบ จำนวน 80 คน         3. กิจกรรมให้ความรู้ในโรงเรียนบ้านทุ่งเลียบ ครู นักเรียน ผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน         4. ทำ MOU ปลอดโฟมระหว่าง เจ้าของตลาด,ผู้ใหญ่บ้าน,กำนัน,โรงเรียน,รพ.สต.ทุ่งตำเสาและเทศบาล         5. มอบป้ายปลอดโฟม จำหน่ายอาหาร 1 ร้าน แผงลอยจำหน่ายอาหาร 7 แห่ง ตลาด 2 แห่ง และโรงอาหาร 1 โรง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทน โฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร เพื่อเป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ๑๐๐% ปี ๒๕๖2

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 10:11 น.