กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลควนเมา
รหัสโครงการ 62-L1513-01-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลควนเมา จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 10,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอร แสนดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง
127.00
2 จำนวนผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก
26.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคปอดบวม
18.00
4 จำนวนผู้ป่วยโรคตาแดง
15.00
5 จำนวนผู้ป่วยโรคสุกใส
7.00
6 จำนวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบนโยบาย “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” โดยใช้อำเภอเป็นจุดเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ โดยกำหนดคุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) มีคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2) มีระบบระบาดวิทยาในระดับอำเภอที่ดี 3) มีการวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 4) มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม 5) มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันที่สำคัญ คุณลักษณะทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่จะบูรณาการดำเนินงานของภาครัฐภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน รวมทั้งให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เรียนรู้การวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับเพื่อช่วยกันค้นหาและแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคในระดับประชาชน ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาควรสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง โดยหน่วยบริการและหน่วยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่  รวมทั้งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
    ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามทางสุขภาพซึ่งมีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต นั่นหมายถึง ความสามารถของบุคลากรที่ร่วมทีมในพื้นที่ ต้องมีความรับผิดชอบเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง สถานบริการทางสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน การดำเนินงานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งมุ่งหวังให้ทีม SRRT มีการยกระดับเป็นทีมที่สามารถทำหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ค้นหาเหตุการณ์ผิดปกติได้เร็วขึ้น มีการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และมีความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ทันที จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบลควนเมา เพื่อเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการแพร่ ระบาดของโรค และให้หน่วยงานดำเนินการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ     จากสถานการณ์ดังกล่าว สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับตำบลควนเมาขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่ทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบลและผู้ที่เกี่ยวข้องในการ เฝ้าระวังโรคและเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคให้ทันเวลาและให้โรคสงบลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว (SRRT) สามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ภายในพื้นที่ตำบลควนเมาได้อย่างทันเวลา

ร้อยละ 80 ของทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว (SRRT) สามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ภายในพื้นที่ตำบลควนเมาได้อย่างทันเวลา

80.00
2 เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อภายในพื้นที่ ตำบลควนเมาลดลง

ร้อยละ 80 ของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อภายในพื้นที่ตำบลควนเมาลดลง

80.00
3 ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อ

ร้อยละ 100 ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 10,450.00 0 0.00
17 พ.ค. 62 อบรมให้ความรู้ 50 10,450.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชุมให้ความรู้แก่ทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว (SRRT) /ผู้ที่เกี่ยวข้อง/คณะทำงาน
    (กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 50 คน)     2.2 การจัดการยุงพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management)     2.3 แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุข     2.4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ / ความคิดเห็น
  3. ขั้นสรุปโครงการ 3.1 สรุปผลโครงการ 3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว (SRRT) สามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ภายในพื้นที่ตำบลควนเมาได้อย่างทันเวลา
  2. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อภายในพื้นที่ตำบลควนเมาลดลง
  3. ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2562 11:21 น.