กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 11 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญทิพา มูสิกะปาละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ก.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 9,600.00
รวมงบประมาณ 9,600.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (9,600.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (16,600.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ จากการเร่งรีบและแข่งขันในชีวิตประจำวันทำให้คนลืมนึกถึงและใส่ใจกับเรื่องสุขภาพจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมอื่นๆเกี่ยวโยงกับสุขภาพทำให้คนส่วนใหญ่ละเลย ไม่ใส่ใจจนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอย่างเห็นได้ชัด หลายคนที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ไม่มีความเชื่อมโยงด้านพันธุกรรม แต่พบว่าสาเหตุการเจ็บป่วยเกิดจากพฤติกรรมล้วนๆ และที่สำคัญไม่เฉพาะกลุ่มที่สูงอายุเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้ หากแต่ปัจจุบันแนวโน้มของกลุ่มเสี่ยงในคนไทย อายุแทบจะไม่เป็นปัจจัยของผู้มีความเสี่ยงจะเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังในอนาคตเท่านั้น โดยจะเห็นได้จากการพบผู้ป่วยโรคอ้วนและเบาหวานในเด็กมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นประชากรทุกกลุ่มจึงเป็นเป้าหมายในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในปี 2562 เป้าหมายประชากร 35 ปี ขี้นไป จำนวน 321 คน คัดกรองได้ 306 คน คิดเป็นร้อยละ 95.33 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน 136 คนคิดเป็นร้อยละ 42.36 และพบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 153 คนคิดเป็นร้อยละ 50 โดยในปี 2561 ผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวน 45 ความดันโลหิตสูง จำนวน 126 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เพียง 9 คน คิดเป็นร้อยละ 20 มีผู้ป่วยเบาหวานจะต้องคุมระดับน้ำตาลได้ร้อยละ 40 และคุมความดันโลหิตได้ร้อยละ 50 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขาดความรู้ในการดูแลตนเอง ขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสมทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การกินยา การออกกำลังกาย การดูแลระดับน้ำตาลในเลือด แสดงให้เห็นว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขี้นทุกปี ส่งผลให้ไม่สามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ดี จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ เล็งเห็นแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่เพิ่มมากขี้นถ้าหากไม่มีการแก้ป้ญหาที่แท้จริง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ผิดๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถดูแลตนเองและคนในครอบครัว ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสมเกิดพฤติกรรมที่ดีและสามารถลดการเกิดโรคเพิ่มได้ในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้มีองค์ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถดูแลตัวเองไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่ได้2.เพื่อให้กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไปเพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 16,600.00 1 9,600.00
31 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง 50 16,600.00 9,600.00

1.การเตรียมการ 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 3.จัดตั้งทีมงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบ 4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ การดำเนินงาน กลุ่มเสี่ยง -จัดกิจกรรมการพบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง จำนวน3 ครั้ง (พบกลุ่มทุก 1 เดือน) พร้อมติดตามการประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ติดตามวัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลในเลือดเชิงรุกที่บ้าน กลุ่มป่วยเรื้อรัง -จัดกิจกรรมพบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง จำนวน 3 ครั้ง (พบกลุ่มทุก 1 เดือน) พร้อมติดตามการประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกรายที่ควบคุมโรคไม่ได้ โดยการแบ่งทีม จนท.อสม.ออกเป็น 2 ทีม เพื่อสะดวกในการติดตามวัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลในเลือดของ อสม.ที่ปฏิบัติงานในชุมชน ซึ่งจะมีการติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง (3 ครั้ง) อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยวที่ยังไม่เคยตรวจคัดกรองความดันโลหิต,เจาะน้ำตาลในเลือดเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองมากยิ่งขี้น จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตหมู่บ้านละ 1 เครื่อง เพื่อให้ อสม.ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกและรวดเร็ว สามารถวิเคราะห์สุขภาพรายบุคคลของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้ทันท่วงที และสามารถส่งต่อในรายที่ผิดปกติทุกราย 6.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาล/ระดับความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2.กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน 3.มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชนที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2562 15:58 น.