กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายเยาวชนป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,625.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีเนาะ กะโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญของทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย หากวัยรุ่นเกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยที่เหมาะสม หรือก่อนที่จะมีความพร้อมในการเป็นมารดา จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว สังคม ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมา ของรายงานจากกยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2561 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000คน ซึ่งเป็นอันดับ 1ในเอเชีย และจากผลการสำเร็จในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับระยะ ปลอดภัยหน้า7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง  ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากกอับอาย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไข ปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชน เพื่อใว้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการคิด เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้คิดตระหนักถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหาด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างความรู้และการป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

0.00
2 2.เพื่อเสริมสร้างให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยวิธีการเพื่อนช่วยเพื่อน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 28,625.00 2 22,500.00
22 - 23 ก.ค. 62 1.กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ 100 23,625.00 17,500.00
22 - 23 ก.ค. 62 2.จัดนิทัศน์การให้ความรู้แก่เยาวชนในชุมชนและในโรงเรียน 0 5,000.00 5,000.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมอสม.และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 1.2 วิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดทำแผนการดำเนินงาน 1.3 เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชนและในโรงเรียน
    1.5 ดำเนินงานตามโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องความรู้และการป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

- ให้ความรู้เรื่องความรู้และการป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร - จัดนิทัศน์การให้ความรู้แก่เยาวชนในชุมชนและในโรงเรียน
2.2 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์
2.3 จัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน 2.4 ติดตามและสามรถช่วยให้คำแนะนำและวิธีป้องกันแก่เพื่อนๆในกลุ่มเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้
2.5 ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้เกิดตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้ 2.มีกลุ่มเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน 3.กลุ่มเป้าหมายสามารถช่วยให้คำแนะนำและวิธีป้อนกันแก่เพื่อนๆในกลุ่มเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ก่อนวัย อันควรได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2562 11:17 น.