กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาชนในการดำเนินการป้องกันโรคอุจจาระร่วงเขตตำบลยะหา
รหัสโครงการ 60-L4150-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2017 - 26 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.รูซีลาโตะกีเล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคติดต่ออำเภอยะหา เมื่อจำแนกประเภทของโรค ได้แก่ โรคทางเดินอาหารและน้ำ โรคติดต่อนำโดยแมลง โรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น โรคทางเดินอาหารและน้ำมีรายงานผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เมื่อศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 5 ปีของอำเภอยะหา (พ.ศ.2555-2559) พบอัตราป่วย 238.96,234.14,179.5,175.43และ 473.49 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายตำบลพบว่า ในปี 2559 ตำบลยะหามีสถิติการเกิดโรคอุจจาระร่วง คิดเป็นอัตราป่วย 1,102.54 ต่อประชากรแสนคนและมีอัตราป่วยมากที่สุดเมื่อเทียบกับตำบลอื่นๆในอำเภอยะหา และยังเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังอันดับที่หนึ่งของโรคทางระบาดวิทยา ซึ่งเมื่อเกิดโรคอุจจาระร่วงแล้วทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ถ้าผู้ป่วยเป็นผู้ที่หารายได้ให้ครอบครัว เป็นต้น ช่วงอายุที่พบมากที่สุด ได้แก่ อายุ 0-5 ปี สำหรับด้านความรุนแรงของโรค โรคอุจจาระร่วง หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวเกิน 3 ครั้งขึ้นไปหรือถ่ายเหลวผิดปกติหรือถ่ายบ่อยกว่าปกติ มักจะพูดติปากว่า ท้องร่วง ท้องเสีย ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดบิดในท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน โดยโรคนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือแบบเฉียบพลัน (Acute) และแบบเรื้อรัง (Chronic) ผู้ป่วยที่เป็นอุจจาระร่วงมักหายภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หายได้เอง แต่หากเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์เรียกว่า อุจจาระร่วงเรื้อรัง โดยโรคนี้พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของประชาชนตำบลยะหา จากการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงในพื้นที่ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านลากอ ได้มีการดำเนินงานตามแนวทางและนโยบายมาตลอด แต่ก็ยังไม่ประสพผลสำเร็จ ยังมีผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเพิ่มขึ้นทุกปี ทางโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา กลุ่มงานเวชปฏิบัติครองครัวและชุมชน จึงมีความสนใจที่จะทำโครงการการพัฒนาการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาชนในการดำเนินการป้องกันโรคอุจจาระร่วงเขตตำบลยะหา (โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านลากอ ตำบลยะหา) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เครือข่ายเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ระดับหมู่บ้าน มีความรู้ เรื่องโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังและเข้าใจบทบาทของตัวเอง ซึ่งจะทำให้การป้องกันควบคุมโรคได้ผลดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ทีมเครือข่ายเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับหมู่บ้านในการดำเนินการป้องกันโรคอุจจาระร่วงเขตตำบลยะหา (โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านลากอ ตำบลยะหา) มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง 2. เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองที่มีดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ได้รับความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง 3. เพื่อลดอัตราป่วยโรคอุจจาระร่วงจากปีที่ผ่านมา
  1. มีการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน หรือ โรคอาหารเป็นพิษได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
    1. อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน หรือโรคอาหารเป็นพิษในระดับอำเภอน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจจากกลุ่มผู้ดูแลเด็กเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี
    1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุม
    2. กลุ่มเป้าหมายร่วมกันจัดทำแผนให้สุขศึกษาในกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กก่อนวัยเรียน หรือกลุ่มอายุ 0-5 ปี
    3. กลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน (ครูอนามัยโรงเรียน ครูดูแลเด็กเล็ก)ถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันโรคอุจจาระร่วงสู่นักเรียน
    4. กลุ่มเป้าหมาย (กลุ่ม SRRT ตำบล,) ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้ผู้ดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและกลุ่มเด็กอายุ0-5ปีในชุมชน
    5. สรุปผลจำนวนผู้ป่วยจากการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในพื้นที่ เปรียบเทียบอัตราป่วยปี 2560 ให้มีจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมา
    6. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้การป้องกันโรคอุจจาระร่วงสู่ชุมชนได้ และทำให้อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุ 0-5 ปี มีจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2017 10:41 น.