กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน เฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน เฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง)
รหัสโครงการ 60-L4150-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2560 - 26 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ไซนับเจะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหากลุ่มโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดกำลังเป็น ปัญหาสาธารณสุข โดยมีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงจากการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะ เช่น การออกกำลังกาย กาบริโภค อาหารที่ไม่ได้สัดส่วน การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม การจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม การดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมากถึง ๓๕ ล้านคน หรือร้อยละ ๖๐ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด และหากไม่เร่ง แก้ไข คาดว่าในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๗ สำหรับประเทศไทยจาก ข้อมูลรายงานโรคไม่ติดต่อของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ พบว่า อัตราการตายต่อประชากรแสนคน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดสมอง โรคเบาหวาน เท่ากับ ๓.๙ , ๒๑.๒ , ๒๐.๘ และ ๑๒.๒ ตามล้าดับ ในขณะที่อัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจาการสำรวจสุขภาวะสุขอนามัยของประชาชน โดยการตรวจร่างกายเบื้องต้น พบว่า อัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ ๕.๔ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวตามเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จึงได้จัดทำโครงการปิงปอง 7 สีสื่อสุขภาพ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง)ตำบลยะหา ปี 2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพตามหลักสุขภาพ 3 อ.2 ส.และมีความรู้ความเข้าใจภาวะสุขภาพปิงปอง 7 สี 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน 3. รณรงค์สร้างกระแสการตรวจสุขภาพต่อเนื่องโดยชุมชน
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60
  2. ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองDM / HT ร้อยละ 90
  3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน (Pre - diabetes) ป่วยเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5
  4. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง (Pre – hypertention) ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
6 มิ.ย. 60 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ 3.อ.2 ส. ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชน 50 9,750.00 -
รวม 50 9,750.00 0 0.00

๑.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชากร 3๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบร่วมกับอสม.เชี่ยวชาญ 3.คัดแยกกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 4. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ 3.อ 2 ส.ในชุมชน 5.จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้3อ.2ส.โดยกระบวนการเรียนรู้ผ่านแบบทดสอบความรู้ 3 อ 2 ส. ตรวจสุขภาพก่อนทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6. รับสมัครเข้า DPAC และประเมินพฤติกรรมสุขภาพ) การติดตามชั่งน้ำหนักและวัดรอบเอว ตรวจวัดความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ๗. อธิบายการบันทึกคู่มือใน“สมุดบันทึกพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกําลังกายอารมณ์แก่กลุ่มเสี่ยงและผลการตรวจสุขภาพตามภาวะสุขภาพปิงปอง ๗ สี ๘. รวบรวมสมุดบันทึกจากกลุ่มเสี่ยงทุก 1 เดือน ทําการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล
๙. ติดตาม ประเมินผลตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงซ้ำอีกครั้ง 10. ส่งต่อในรายที่สงสัยป่วย 11. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการดำเนินงาน 12.บันทึกข้อมูลในโปรแกรม Hos XP

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาวะโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน ๒. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในเรื่อง อาหารอารมณ์ออกกำลังกายบุหรี่และสุรา ๓. กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงการพัฒนาตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไปได้ 4. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล สุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว 5. เกิดรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพภาคประชาชนในชุมชน
6. เกิดบุคคลต้นแบบของการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานสามารถเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ได้จากประสบการณ์ การดําเนินวิถีชีวิตที่เป็นจริง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 11:14 น.