กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมตาดีกา มัสยิด ปลอดภัย ห่างไกล ไร้ไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L7889-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 122,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 122,200.00
รวมงบประมาณ 122,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น ๆ และสนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นั้น เทศบาลตำบลปริก ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นบริบทที่มีความเป็นอัตลักษณ์ในด้านสังคมและวัฒนธรรมศาสนาอิสลาม ซึ่งประชาชนร้อยละ ๙๐ นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น กิจวัตรประจำวันของประชาชนจึงมีความผูกพัน กับศาสนสถาน คือ มัสยิด โดยในเทศบาลตำบลปริกมีมัสยิด จำนวน ๗ มัสยิด ตั้งอยู่ใน ๕ ชุมชนซึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันประชาชนต้องปฏิบัติศาสนกิจละหมาดวันละ ๕ เวลา และในทุกวันศุกร์ ถือเป็นวันสำคัญที่ประชาชนมาปฏิบัติศาสนกิจจำนวนมาก รวมถึงในวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม คือ ช่วงเดือนถือศีลอด(รอมฎอน) และวันตรุษ (อีดิลฟิตรี , อีดิ้ลอัฎฮา) ประชาชนทุกครัวเรือนได้มารวมตัวกัน เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ณ มัสยิดประจำชุมชน พร้อมกันนี้ “มัสยิด” ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนตาดีกา ซึ่งมีจำนวน
๕ แห่ง ซึ่งโรงเรียนตาดีกาถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนาอิสลามและจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชนในช่วงวันเสาร์-วันอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตของประชาชนที่นับถืออิสลามในพื้นที่เทศบาลตำบลปริก จากสถานการณ์การระบาดของติดต่อ โรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และอื่นๆในเขตเทศบาลตำบลปริก ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยจำนวน ๑๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๓๑.๗๓ ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) จำนวน ๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๖๑.๗๙ ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ต้องแก้ไขแบบมีส่วนร่วมหลายๆภาคส่วน และอีกทั้งเกินค่ามาตรฐานตัวชี้วัดค่ามัธยฐานย้อนหลังห้าปีของกระทรวงสาธารณสุข ชมรมส่งเสริมสุขภาวะมุสลิมปริกสัมพันธ์ มีความตระหนักในเรื่องปัญหาการระบาดของโรคที่อาจมีแหล่งแพร่โรคจากพื้นที่มัสยิดและโรงเรียนตาดีกาได้เพราะเป็นสถานที่สาธารณะที่ทุกกลุ่มอายุมาร่วมกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้ความรู้ในการป้องกันควบคุมโรค การมีส่วนร่วมให้ทุกคน ทุกฝ่ายกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามแต่ละบริบทของพื้นที่มัสยิด โรงเรียนตาดีกา ในเขตเทศบาล โดยกลุ่มแกนนำมัสยิดเด็กนักเรียน สามารถดำเนินการรักษาความสะอาดให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ ความสะอาด ความสะดวกและปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งแพร่โรคติดต่อแก่ประชาชน ผู้มาปฏิบัติศาสนกิจและนักเรียนโรงเรียนตาดีกา ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากโรคติดต่อ โดยในหลักการศาสนาอิสลามถือว่า “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” กลุ่มแกนนำมัสยิดมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการมัสยิด อยากให้เกิดการดูแลสุขภาพโดยชุมชนเพื่อชุมชนได้มีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย สิ่งแวดล้อมถูกหลักสุขาภิบาล และพัฒนาให้ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขในอนาคตต่อไป ดังนั้น กลุ่มแกนนำมัสยิดแต่ละมัสยิด ครูและนักเรียนตาดีกาจำเป็นต้องมีความรู้ด้านสุขภาวะ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน การควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยยุงลายในชุมชนต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดสุขภาวะที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งความรู้ ความตระหนักการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ระยะเวลา และงบประมาณ เพื่อนำสู่เป้าหมาย “ตาดีกา มัสยิด ปลอดภัย ไร้โรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา” ชมรมส่งเสริมสุขภาวะมุสลิมปริกสัมพันธ์ จึงได้จัดทำ “โครงการ ตาดีกา มัสยิด ปลอดภัย ห่างไกล ไร้ไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา ปี ๒๕๖๒” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เชิญแกนนำมัสยิด ครูโรงเรียนตาดีกา และชมรมเข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ และแต่งตั้งทีมตรวจประเมินในมัสยิด โรงเรียนตาดีกา โดยภาครัฐ ประชาชน เอกชน ในพื้นที่
  2. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการสู่ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปริก
  3. ดำเนินอบรมเชิงปฏิบัติการ แกนนำมัสยิด 1 วัน
    4.ดำเนินอบรมเชิงปฏิบัติการ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา 1 วัน
  4. กลุ่มเป้าหมายนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ รณรงค์ร่วมทำความสะอาดครั้งใหญ่ พัฒนาสิ่งแวดล้อมในมัสยิดและโรงเรียนตาดีกาหลังอบรม 2 ครั้ง
  5. จัดรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในมัสยิดทุกวันศุกร์ โรงเรียนตาดีกาทุกวันเสาร์หรืออาทิตย์
  6. ประชุมทีมประเมินบูรณาการ (เจ้าหน้าที่ /ชุมชน ) โดยประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายและ ออกประเมินในมัสยิด 7 แห่ง โรงเรียนตาดีกา 5 แห่ง และครัวเรือนรัศมี ๑๐๐ เมตร รอบๆมัสยิด สุ่มหลังคาเรือนของคณะกรรมการมัสยิด และหลังคาเรือนของนักเรียน จำนวนชุมชนละ 10 หลังคาเรือน สรุปการประเมิน
  7. กิจกรรมถอดบทเรียนร่วมกัน และ มอบป้าย ประกาศนียบัตรรับรองมัสยิดและโรงเรียนตาดีกาปลอดลูกน้ำยุงลาย ๑0. สรุปผลโครงการเป็นรูปเล่มเสนอต่อคณะกรรมการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปริก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑๐.๑ ปัญหาของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย(ชิคุนกุนยา) ในเขตเทศบาลตำบลปริกลดลง
๑๐.๒ กลุ่มแกนนำการมัสยิด นักเรียนโรงเรียนตาฎีกาในเขตเทศบาลตำบลปริกได้เป็นต้นแบบของแกนนำควบคุมโรค และนำมาประยุกต์ปฏิบัติใช้ในชุมชนของตนเองได้ ๑๐.๓ มัสยิดผ่านมาตรฐานตัวชี้วัดขั้นพื้นฐานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพและเป็นมัสยิดปลอดลูกน้ำยุงลาย เป็นศาสนสถานควบคุมป้องกันโรคต้นแบบสู่พื้นที่อื่นๆ ๑๐.๔ เกิดสุขภาวะที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2562 17:16 น.