กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน
รหัสโครงการ 60-L4150-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2560 - 26 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมีเนาะพุ่มโพธิ์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปีแต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อย ๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุดซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็นเพราะเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมากและแทบจะไม่รู้จักเลยทั้ง ๆ ที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัวเรานี้เอง ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาอำเภอยะหาจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือนการจัดทำสวนสมุนไพรในชุมชนขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสมุนไพรไทยไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน ในการรักษาโรคเบื้องต้น 2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ/ผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้ 3 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนปลูกสมุนไพรใช้ในท้องถิ่น

1ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้ 2ร้อยละ50ของครัวเรือน มีการปลูกและใช้สมุนไพร อย่างน้อย 3 ชนิด 3มีสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2. แจ้ง – ประสาน อสม. ประชาสัมพันธ์ กำหนดการดำเนินงาน ในชุมชน 3. จัดเตรียมอุปกรณ์ใช้ในการจัดอบรม 4. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดทำแปลงสาธิตให้กับชุมชน ขั้นดำเนินการ 1จัดประชุมเตรียมการ 2จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมในการใช้สมุนไพรในครัวเรือน แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ /ผู้นำ 3 สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำน้ำมันไพลแก้ปวดเมื่อย 4จัดทำสวนสมุนไพรสาธิตที่มัสยิด หมู่ที่ 9บ้านกือเต
5สรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน ในการรักษาโรคเบื้องต้น 2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) /แกนนำ/ผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้ 3 รณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนปลูกสมุนไพรใช้ในท้องถิ่นอย่างน้อยครัวเรือนละ 3 ชนิด 4มีสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 14:04 น.