กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการรับวัคซีนโดยภาคีเครือข่าย
รหัสโครงการ 62-L4121-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ2
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเรียม กาญจนเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.ย. 2562 27 ก.ย. 2562 14,300.00
2 27 ก.ย. 2562 27 ก.ย. 2562 4,200.00
3 27 ก.ย. 2562 27 ก.ย. 2562 1,500.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคป้องกันด้วยวัคซีนเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในอดีต ในปี พ.ศ.2520 กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มใช้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคระดับประเทศ ทำให้อุบัติการณ์ของโรคคอตีบลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคคอตีบ จะลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ยังคงพบรายงานการระบาดของโรคคอตีบอยู่เสมอ เช่น บริเวณที่ติดกับชายแดนระหว่างประเทศ บริเวณที่มีความยากลำบากในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงในประชากรกลุ่มอายุที่คาดว่าจะไม่ได้รับวัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเหตุการณ์การระบาดเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการระบาดขยายวงกว้าง การจัดการเพื่อควบคุมการระบาดให้รวดเร็วที่สุด และเตรียมความพร้อมป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในพื้นที่อื่นจึงมีความจำเป็นอย่างสูง ซึ่งโรคคอตีบเป็นโรคที่พบการระบาดเป็นช่วงๆ โดยตั้งแต่ปี 2520 ผู้ป่วยโรคคอตีบมีจำนวนลดลงจาก 2,290 ราย เเหลือไม่เกินปีละ 10 ราย ในช่วงระหว่างปี 2548-2551 แต่หลังจากปี 2552-2555 จำนวนผู้ป่วยกลับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12-77 ราย โดยในช่วงที่มีการระบาดในปี 2555 มีผู้ป่วยจำนวน 63 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้วัคซีนเพื่อควบคุมการระบาดของโรคคอตีบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นผู้ป่วยเริ่มลดลงเหลือ 29 ราย ในปี 2556 ส่วนปีนี้ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557 มีผู้ป่วยจำนวน 4 รายเสียชีวิต 1 ราย ด้านสถานการณ์ผู้ป่วยคอตีบที่ไม่แน่นอน และยังมีตัวเลขขึ้นลงตลอด ซึ่งการระบาดในแต่ละครั้งของโรคคอตีบมักจะพบในเด็กที่ยังไม่ได้วัคซีนหรือยังได้วัคซีนไม่ครบ และในกลุ่มคนที่มีประวัติได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนหรือไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นในเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะป้องกันโรคได้ โดยเมื่อปลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้เกิดการระบาดของโรคคอตีบ โดยพบมากที่สุดในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและรองลงมาคือทางภาคใต้ ถึงแม้ว่าอัตราการพบผู้ติดเชื้อจะเหลือเพียงไม่กี่ราย แต่โรคคอตีบเป็นที่รุนแรง โดยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 40 ปี จะมีอัตราเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งภาคใต้เป็นพื่นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาของแรงงานอพยพจากหลายพื่นที่ทั้งแรงงานต่างด้าวและแรงงานจากภูมิภาคอื่นของประเทศ ทำให้กลุ่มเด็กที่ย้ายตามผู้ปกครองจึงไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนตามเกณฑ์หรือมีบางส่วนไม่ได้รับวัคซีนเลย   ในเขตของพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ 2 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา พบว่าในเขตพื้นที่อำเภอธารโตได้มีเด็กป่วยด้วยโรคไอกรน 1 ราย และพื้นที่ใกล้เคียงเช่น บันนังสตา ได้มีเด็กป่วยที่จะสัมผัสและระบาดได้สูง และจากการดำเนินงานพบว่าเด็กที่มีอายุ 1 ปีครึ่ง 5 ปี มีอัตราการวัคซีนต่ำไม่ครอบคลุมเป้าหมาย และยังพบเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และน้ำหนักค่อนข้างน้อยมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเร่งรัดและกรัตุ้นให้ผู้ปกครองมีความตระหนักเห็นความสำคัญ เพื่อให้เด็กได้รับวัคซีนครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย น้ำหนักตามเกณฑ์และพัฒนาการสมวัย ลดอัตราการป่วยหรือตายจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งกลุ่มเด็กเหล่านี้จะได้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางสติปัญญา ร่างกายที่ดีและแข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานรับวัคซีนครบชุดตามวัย 2. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรท้องถิ่นสนับสนุนมีส่วนร่วมการแก้ปัญหารับวัคซีนในเด็ก 3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคในเด็กและความรู้ในการดูด้านอาหารตามวัยได้ 4. เพื่อป้องกันการป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน 5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาการสมวัย
  1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนทุกประเภทตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 20,000.00 0 0.00
25 ก.ย. 62 - 12 ก.พ. 62 รณรงค์และอบบรมให้ความรู้ 100 20,000.00 -
  1. จัดทำโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
  2. แต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินงานโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์
  3. การจัดทำสื่อ ประชาสัมพันธ์งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และกิจกรรมรณรงค์ใช้สื่อสาธารณะ เช่น หอกระจ่ายข่าว มัสยิด
  4. จัดแผนรณรงค์การออกปฏิบัติงานค้นหา ติดตาม เยี่ยมบ้าน ให้ความรู้ให้กับผู้ปกครองของเด็ก 0-5 ปี เชิงรุกร่วมกับทีม อสม.และเครือข่าย
  5. จัดทำแผนการติดตามเยี่ยมบ้านเชิงรุกและติดตาม เด็กที่ขาดการรับวัคซีนในแตละเดือน
  6. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 เด็ก 0-5 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 2.ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องและเกิดความตระหนักในเรื่องวัคซีน
  2. เกิดกิจกรรมรณรงค์การรับวัคซีนในพื้นที่ โดยมี อสม แกนนำและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม 4.สามารถป้องกันและควบคุมโรค จากโรคที่สามารถป้องกันด้วยการรับวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 11:11 น.