กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจปลอดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L4123-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสีตีนุร อาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.271,101.352place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ทำหนดไว้ในนโยบายระดับชาติ และเป็นปัญหาสาธารณสุข ซึ่งในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมน (ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น การศึกษา และผู้นำศาสนาในชุมชน) มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการป้องกันและควบคุมโรคให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดที่มีอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก ปี พ.ศ.2559 พบผู้ป่วยสะสมตลอดทั้งปี จำนวน830 รายคิดเป็นอัตราป่วย 185.80 ต่อแสนประชากร(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา, งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค, 2559) ในปีงบประมาณ 2559 สาะารณสุขจังหวัดยะลา จึงได้กำหนดให้มีการณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เผ้าระวังโรคไข้เลือดออกร่วมกันปฏิบัติตามนโยบายประชารัฐ ร่วมใจ ใช้ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอบันนังสตา ซึ่งเป็นอำเภอ 1 ในจังหวัดยะลา มีปัญหาโรคไข้เลือดออกสูง จากข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี ในปี พ.ศ.2549 -2558 มีอัตราป่วย16.21, 122.95, 93.52 , 106.89, 359.52, 30.23, 68.48, 89.34, 166.14 และ 178.81 ต่อแสนประชากร และในปี พ.ศ.2559 อัตราป่วย 398.88 ต่อแสนประชากร (สนัำงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา, งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค, 2559) อีกทั้งยังเป็นอำเภอที่ประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นระยะเวลาหลาย ๆ ปี ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มในการเกิดโรคสูงขึ้นในอนาคต ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ยังมีปัญหาโรคไข้เลือดออก ของอำเภอบันนังสตาซึ่งจัดเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยตลอดทั้งปี สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี ตำบลตลิ่งชันพบผู้ป่วยทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ในปี พ.ศ.2554 - 2558 พบผู้ป่วย 1 ราย , 1 ราย, 3 ราย, 7 ราย, 2 ราย ตามลำดับ อัตราป่วย 21.41 , 21.63 , 64.23, 149.86 และ 43.28 ต่อแสนประชากรและในปี พ.ศ.2559 พบผู้ป่วย 5 ราย อัตราป่วย 108.15 ต่อแสนประชากร (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา, งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค, 2559) จึงชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มในปี พ.ศ.2560 มีโอกาสเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก จากปัญหาดังกล่าว การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสภาวะสุขภาพอนมัยของประชาชนในชุมชนโดยเฉพาะในเขตพื้นที่รัรบผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตะบิงติงงี ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกปี ดังนั้น จึงจัดโครงการขึ้น เพื่อเป็นการควบคุมยุงลายในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น รวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกับตัวได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 แกนนำชุมชน แกนนำแม่บ้าน ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนสามารถป้องกันและควบคุมโรคทั้งในชุมชนและในหมู่บ้านได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการตามแผนงาน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ 2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 3. จัดเตรียมสิ่งสนับสนุน จัดเตรียมอุปกรณ์ในการพ่น ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน แกนนำแม่บ้าน กิจกรรมที่ 2 พ่นหมอกควันและสารเคมีติดฝ่าผนังทำลายตัวเต็มวัย และพ่นหมอกควันในกรณีมีโรคระบาดในพื้นที่ กิจกรรมที่ 3 จัดทำ Big cleaning day ในหมู่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้านเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 4 แจกปลาหางนกยูงให้กับประชาชนในพื้นที่ ขั้นสรุปผลและรายงาน รวบรวมผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ - ประเมินผล โตยวัดระดับความรู้ของผู้่เข้ารับการอบรม - จำนวนการระบาดของโรคไข้เลือดออกลงจากปีที่ผ่านมา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาลดลง ไม่เกิด 80 ต่อแสนประชากร
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 15:32 น.