กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก
รหัสโครงการ 62-L7258-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานทันตกรรม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 15 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 329,252.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันติ ตุคะเวทย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล           ฝ่ายทันตสาธารณสุข ส่วนบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้จัดให้มีการบริการทันตกรรม และส่งเสริมป้องกันให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ แก่ เด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไป ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งได้มีการตั้งคลินิกทันตกรรมเพื่อให้บริการและส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพ ๒ แห่งคือ ศูนย์บริการสาธารณสุขเพชรเกษม และศูนย์บริการสาธารณสุขสามชัย สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ มีหน้าที่ให้บริการงานทันตกรรมทั่วไป ได้แก่ ขูดหินปูน อุดฟัน และถอนฟัน งานส่งเสริมป้องกัน ได้แก่ การเคลือบฟลูออไรด์ และเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ รวมทั้งให้บริการงานทันตกรรมเฉพาะทาง ได้แก่ การรักษาคลองรากฟัน การผ่าตัดฟันคุด/ฟันฝัง ทันตกรรมจัดฟันเบื้องต้น และงานฟันเทียมทั้งแบบถอดได้และติดแน่น โดยให้บริการผู้ป่วยจำนวน ๕,๑๙๒ ราย (เฉลี่ยวันละ ๒๖ ราย) ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑
      จากการที่ศูนย์บริการทั้งสองศูนย์ได้ลงพื้นที่ในการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ในโรงเรียนเทศบาล ๑-๖ จำนวน ๓,๗๓๓ ราย พบว่าเด็กประถมศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ (๕-๖ปี) มีค่าปราศจากโรคฟันผุเพียงร้อยละ ๒๑.๖ ซึ่งค่าปราศจากโรคฟันผุในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่กำหนดอยู่ที่ ๓๑.๔ จะเห็นได้ว่าค่าปราศจากโรคฟันผุในเด็กประถมมีค่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนมีฟันผุเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาลลุกลามมาจนถึงวัยประถม ทั้งนี้การไม่ได้รับการการส่งเสริมป้องกันฟันผุอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งส่งผลให้โรคฟันผุเกิดการลุกลามทั้งขนาดเล็กที่ยังสามารถบูรณะได้  ไปจนถึงฟันผุลุกลามขนาดใหญ่ ที่ต้องได้รับการถอนฟันออกทั้งในน้ำนมและฟันกรามแท้ซี่แรก
      ดังนั้น ฝ่ายทันตสาธารณสุข ส่วนบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ จึงได้ตระหนักว่าปัญหาฟันผุในเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาลเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขก่อน โดยการใช้สารเคลือบฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงชนิดทาเพื่อเสริมความแข็งแรงของเคลือบฟัน ร่วมกับการใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกเพื่อทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ นมอัดเม็ดโพรไบโอติก เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการป้องกันโรคฟันผุซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ศ.ดร. รวี เถียรไพศาล และ ผศ.ดร.ทพญ. สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่รองรับได้ถึงผลในการป้องกันโรคฟันผุ เช่น           ๑. วารสาร Clin Oral Invest (๒๐๑๔) ๑๘:๘๕๗-๘๖๒ ซึ่งเชื้อโพรไบโอติกชนิด Lactobacillius paracasei SD1 สามารถลดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ (mutans streptococci) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้ด้าน โพรไบโอติกและการดูแลทันตสุขภาพแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในโรงเรียน / ครูอนามัยและ ครูประจำชั้นหรือผู้แทนครูในแต่ละชั้นปี ข้อที่ 2 เด็กปฐมวัยและได้รับนมอัดเม็ดผสม โพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 3 เดือน ข้อที่ 3 ติดตามการลดลงของฟันผุ โดยการตรวจ๓ครั้งก่อน ระหว่างและหลังการได้รับนมอัดเม็ด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ ๘๐ ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในโรงเรียน / ครูอนามัยและครูประจำชั้นหรือผู้แทนครู ในแต่ละชั้นปีได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านโพรไบโอติกและการดูแลทันตสุขภาพซึ่งสามารถถ่ายทอดไปสู่เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองได้ ร้อยละ ๘๐ ของเด็กปฐมวัยและเด็กนักเรียนประถมศึกษาได้รับนมอัดเม็ดโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 3 เดือน ร้อยละของการปราศจากโรคฟันผุลดลง ไม่เกินร้อยละ ๑๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 331,952.00 4 328,592.00
1 มิ.ย. 62 - 15 ก.ย. 62 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ด้านโพรไบติกแก่ทัตบุคลากร เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธาณสุข 60 13,500.00 13,500.00
1 มิ.ย. 62 - 15 ก.ย. 62 กิจกรรมส่งเสริมป้องกันด้วยนมอัดเม็ดโพรไบโอติกและการประเมินประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุ 0 308,252.00 308,252.00
1 มิ.ย. 62 - 15 ก.ย. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 10,000.00 6,840.00
1 มิ.ย. 62 - 15 ก.ย. 62 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินการ 0 200.00 0.00

๑. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก ครูอนามัย ครูประจำชั้น ผู้แทนครูที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดซื้อผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ดโพรไบโอติก / วัสดุทางการแพทย์ / จัดจ้างสื่อประชาสัมพันธ์ /แผ่นพับให้ความรู้แก่   ผู้ปกครอง ๔. ประชุมทันตบุคลากรและให้จัดอบรมให้ความรู้ด้านโพรไบโอติกและทันตสุขภาพแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการ   สาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก ครูอนามัย ครูประจำชั้น ผู้แทนครูที่เกี่ยวข้อง
๕. ลงพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรม
  ๕.๑ ตรวจสุขภาพช่องปาก แบ่งได้ดังต่อไปนี้     - กลุ่มเด็กปฐมวัย จะมีการตรวจ ๓ ครั้ง คือ ก่อน / ระหว่าง / หลังการให้เม็ดนมโพรไบโอติก   ๕.๒ ส่งมอบนมอัดเม็ดแก่เด็กปฐมวัย (๓-๕ ปี) ให้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก
    - เด็ก ๓-๕ ปี ให้ ๓ เม็ดต่อวัน ๑๕ เม็ด/สัปดาห์ ไม่รวมเสาร์และอาทิตย์ เป็นเวลา 3 เดือน   ๕.๓ ประชาสัมพันธ์สื่อทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครอง เช่นแผ่นพับ ไวนิลโครงการ
๖. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ๗. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาล ๒-๖ มีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ๒. ครูประจำชั้นและครูอนามัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถถ่ายทอดไปสู่นักเรียนได้ดี   ยิ่งขึ้น ๓. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจและอยากให้มีโครงการนี้ขึ้นอีก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2562 14:53 น.