กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
รหัสโครงการ 62-L12858-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิคชุมชนอบอุ่นหมอเกรียงศักดิ์
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 89,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญเรียม จุติวิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)”กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศและระดับโลก รายงานองค์การอนามัยโลก พ.ศ.2551 พบว่า การเสียชีวิตของประชากรโลก 36 ล้านคน มีสาเหตุมาจาก 4 กลุ่มโรค NCDs ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพองและโรคเบาหวาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก (57 ล้านคน) และจากรายงานภาระโรค NCDs พบว่า ในปี พ.ศ.2553 การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุด อยู่ที่ 15.62 ล้านคน

      “ประเทศไทย” ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคชี้ว่า ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมด 58,681 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต เท่ากับ 90.34 ต่อแสนประชากร และผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 18,079 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 27.83 ต่อแสนประชากร โรคหัวใจและหลอดเลือดดังกล่าวมีหลักฐานทางการแพทย์เป็นที่ประจักษ์พบว่า เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญดังนี้ อายุที่มากขึ้น ภาวะอ้วน ไขมันสะสม สูบบุหรี่เป็นประจำ โรคเบาหวาน โรคความดัน การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด และปัจจัยทางพันธุกรรม ดังนั้น หากมีการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม/ภาวะเสี่ยงของโรคได้ เท่ากับสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคและการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประชากรคนไทยได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชากรผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว

 

0.00
2 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชากรผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดระดับความดันโลหิตลงจากเดิมได้ ≥ 20 mmHg คิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดน้ำหนักลงจากเดิม ≥ 1 กิโลกรัม คิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดระดับ HbA1C ลงจากเดิมคิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดระดับ LDL ลงจากเดิม คิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชากรผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชากรผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 จ้ดประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานโครงการ 0.00 1,000.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 จัดอบรมเชิงวปฎบัติการแก่ผู้เกียวงข้องในคลินิก 0.00 71,100.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 แลกเปลี่ยนเรียนรู็ 0.00 16,800.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 ประชาสัมพันธ์ 0.00 700.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 สรุปผลการดำเนินงาน 0.00 300.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

และเสนอขออนุมัติโครงการ 2. จัดประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมแก่คณะทำงานโครงการก่อน
3. ลงพื้นที่เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด 4. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจำแนกรายชื่อผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 5. ประสานงาน นัดหมายเพื่อเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 6. จัดอบรมให้ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวม 3 รุ่นๆ ละ 2 วัน ( 30 คน/รุ่น) 7. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกคนๆละ 1 ครั้ง/เดือน รวม 3 ครั้ง
8. ติดตามผลโดยการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง/รุ่น ทุก 3 เดือน 9. ติดตาม สอบถามให้ความรู้ผ่านระบบ Line และ Face book ทุกสัปดาห์ 10. ประเมินผลโครงการและจัดทำรูปเล่ม สรุปการดำเนินกิจกรรมให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดระดับความดันโลหิตลงจากเดิมได้ ≥ 20 mmHg คิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดน้ำหนักลงจากเดิม ≥ 1 กิโลกรัม คิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้น โครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดระดับ HbA1C ลงจากเดิมคิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
    1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดระดับ LDL ลงจากเดิม คิดเป็นจำนวนร้อยละ 30 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2562 15:18 น.