กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เพื่อดูแลสุขภาพชุมชน
รหัสโครงการ 60-L1478-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านหนองยวน
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 นางประคิ่นเพ็ชรย้อย 2 นางปรานีเยาดำ 3 นางพรศรีสังยวน 4 นางวิจิตราคงแก้ว 5 นายสุนะชูพูล
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดี ด้วงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 67 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งการดำเนินงานให้คลอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่สร้างปัญหาและเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชน คือโรคเอดส์โรคไข้เลือดออกโรคเล็ปโตสไปโรซิส เป็นต้น การจะแก้ปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายสุขภาพที่มีในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร จัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั้งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่นโยบายและการดำเนินดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ ทักษะวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านหนองยวน ได้เล็งเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เพื่อดูแลสุขภาพชุมชน เพื่อช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

1 อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 67คน ได้รับความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.บ้านหนองยวนให้มีศักยภาพในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

1 อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

3 3. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมถูกต้อง

1 ประชาชนได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ที่มีประสิทธิภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านหนองยวน เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานของเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข ปัญหาและอุปสรรคในรอบปีที่ผ่านมา
    1. จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประเมินความรู้ ประเมินสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุข
    2. จัดอบรมเชิงปฎิบัติการฟื้นฟูวิชาการและฝึกทักษะความรู้ให้อสม.ในงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    3. กำหนดกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จะดำเนินงานในชุนชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 4.1ด้านเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง -ติดตามค้นหาและคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35ปีขึ้นไปในหมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยการตรวจหาระดับน้ำตาลในปัสสาวะ/ในเลือดเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและโดยการวัดความดันโลหิตเพื่อค้นหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง -แนะนำสุขศึกษาความสำคัญของการค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนผู้มาคัดกรองเพื่อความร่วมมือในการควบคุมโรคไม่ติดต่อ
    • ให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้ที่มาคัดกรองและพบภาวะผิดปกติให้สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจซ้ำและรับการรักษาที่ถูกต้อง 4.2ด้านการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก -อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเฝ้าระวังโดยการสำรวจลูกน้ำยุงลายตามแหล่งภาชนะต่างๆ ทั้งในครัวเรือนและสถานที่สาธารณะและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชน -แนะนำให้สุขศึกษาการป้องกันโรคไข้เลือดออกกับครัวเรือนเพื่อความร่วมมือในการควบคุมโรค -ประสานงานกับ อบต.ละมอ ในการพ่นหมอกควันในกรณีเกิดมีผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกในหมู่บ้านเพื่อควบคุมสถานการณ์อย่างรวดเร็ว 4.3ด้านการติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ , เด็ก , ผู้สูงอายุ , คนพิการ -. ประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบเพื่อขอสนับสนุนเอกสารการสำรวจจัดทำทะเบียนรายงานและเป็นพี่เลี้ยงในการติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายต่างๆ -ออกติดตามเยี่ยมบ้านในละแวกบ้านที่รับผิดชอบ -ให้คำแนะนำด้านสุขภาพอนามัยแก่บุคคลเป้าหมาย
  2. ประเมินผลการปฎิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพิ่มมากขึ้น
  2. มีการพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีศักยภาพในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  3. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2560 14:18 น.