กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมทักษะชีวิตพิชิตโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 60-L1478-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหนองยวน
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเรวดี ด้วงชู
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนายุทธ ทองสม
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านหนองยวน ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้ติดตามสถานการณ์ของโรคเบาหวานมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงหรือคงตัว ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานทั่วโลกมีมากกว่า ๒๘๕ ล้านคน และคาดว่า อีก ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะเพิ่มขึ้นเป็น ๔๓๙ ล้านคน จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของคนไทยที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ -พ.ศ.๒๕๕๒พบว่า เป็นโรคเบาหวานร้อยละ ๖.๙ อายุที่เริ่มเป็นโรคเบาหวานลดน้อยลง ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย คนอ้วนเป็นมากกว่าคนไม่อ้วน และคนในเมืองเป็นมากกว่าคนในชนบท ในขณะนี้ประชากรไทยที่เป็นโรคเบาหวานมีจำนวนไม่ต่ำกว่า ๓ ล้านคน ที่น่ากังวลคือประมาณ ๑ ใน ๓ ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ประชากรไทยอีกจำนวนมากไม่ต่ำกว่า ๗ ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคต และที่สำคัญเมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัว มีภาระและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงมาก
และองค์การอนามัยโลก รายงานว่าทั่วโลกมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากถึงพันล้านคน ซึ่งสองในสามของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 คน ใน 3 คนมีภาวะความดันโลหิตสูง และประชากรวัยผู้ใหญ่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็พบ มี1 คน ใน 3 คน ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เช่นกัน และได้คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2568 (ค.ศ.2025) ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1.56 พันล้านคน ขณะเดียวกัน สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก ได้ประมาณการว่าปัจจุบันมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 1 ใน 3 ทั่วโลก จึงคาดว่ามีจำนวนผู้เป็นความดันโลหิตสูง 1.8 พันล้านคนซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยในแต่ละปีประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้ถึงเกือบ 8 ล้านคน ส่วนประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงนี้ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเกือบร้อยละ 50 ด้วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจ
จากผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยบ้านหนองยวน ตำบลละมออำเภอนาโยง จังหวัดตรังในปี 2559 พบว่า การตรวจค้นหาคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังต่าง ๆ จำนวน 5 หมู่บ้าน เป้าหมายการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,610 คน ผลการดำเนินงานการคัดกรอง คิดเป็นร้อยละ 93.90มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค จำนวน 336 คน คิดเป็นร้อยละ28.74เป้าหมายการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1,610 คน ผลการดำเนินงานการคัดกรอง คิดเป็นร้อยละ 90.38มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 0.53 ซึ่งผ่านเกณฑ์ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงและมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 18 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 235 คน เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวนจึงได้จัดทำโครงการเสริมทักษะชีวิตพิชิตโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยทุกคนให้รู้จักโรค ตระหนักถึงปัญหา และภัยของโรค มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรค มีการตรวจค้นหา และวินิจฉัยโรคให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เป็นโรคนี้รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลรักษาโรคให้ได้ตามเกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดอัตราความพิการการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีพอย่างได้มีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ในเรื่อง การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกายที่ถูกต้อง

1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

1 ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ในเรื่อง การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกายที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ,อสม.,ผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่มผู้สูงอายุ
  3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ
  4. ดำเนินการอบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ดังนี้ 4.1 ตรวจเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวาน 4.2 ประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต และติดตามลดเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง 4.3ให้ความรู้เรื่อง
    • ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
    • ความดันโลหิตสูง
    • โรคหัวใจ
    • ภาวะไขมันในเลือดสูง
    • กลเม็ดเคล็ดลับทำอย่างไรไตไม่วาย
    • โภชนาการ และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    • แนวทางการใช้ยาเพื่อการรักษา
  5. สรุปผลการตรวจเท้า
  6. ส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อรักษา/ติดตามเยี่ยมบ้าน
  7. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรคการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การตรวจเท้าและการดูแลเท้าได้ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
    1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
    2. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2560 15:26 น.