กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันโรคนํ้าหนีบ (Caisson Disease) ของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่หมู่ที่3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันโรคนํ้าหนีบ (Caisson Disease) ของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่หมู่ที่3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 62-L5312-2-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 พฤศจิกายน 2562 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2563
งบประมาณ 74,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 14 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล นับตั้งแต่พื้นที่ทะเลทางภาคใต้ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชนั้น ชาวเลประสบปัญหาหลายด้าน เช่น เรื่องไร้สิทธิ์ครอบครองและอาศัยอยู่ในที่ดินชุมชน การถูกไล่ที่จากภาคเอกชน รวมถึงการไม่สามารถออกจับสัตว์น้ำในบริเวณอุทยานแห่งชาติได้ ทำให้ชาวเลหลายพื้นที่ต้องออกเรือไกลและลงน้ำลึกกว่าเดิม ซึ่งนอกจากจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าน้ำมันเรือแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาโรคน้ำนีบ(Caisson Disease) มากขึ้น เนื่องจากต้องดำน้ำในระดับน้ำที่ลึกกว่าเดิม จากข้อมูลกองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ ได้รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากการดำน้ำที่เข้ารับการรักษาในช่วงปี 2525 – 2544 พบว่าผู้ป่วยทุกคนประกอบอาชีพดำน้ำลึก ตั้งแต่ 30 – 40 เมตร ขึ้นไป เพื่อจับสัตว์ทะเลหรือตัดต้นไม้ใต้น้ำ ด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ คือ หน้ากากและท่ออากาศขนาดเล็กต่อกับเครื่องอัดอากาศที่ติดตั้งบนเรือ (การดำน้ำเพื่อสันทนาการลึก แค่ 10-20 เมตร โดยมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ) และมีการดำน้ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมทั้งขั้นตอนของการขึ้นจากน้ำเร็วกว่าปกติ จากข้อมูลระบุว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคน้ำหนีบ คือ การดำน้ำลึกกว่า 18 เมตร จากข้อมูลสถิตการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบของจังหวัดสตูล ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยจากสถิติข้อมูลมีรายงานพบว่าชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี 2552 รพ.สต.เกาะหลีเป๊ะ สำรวจพบว่า มีชาวประมงเจ็บป่วยจากการดำน้ำ จำวน 24 ราย ขณะที่ล่าสุดข้อมูลจนถึงปัจจุบัน ปี 2558 พบจำนวนผู้ป่วยลดลงเหลือ จำนวน 9 ราย ก็ตาม ขณะที่พื้นที่เกาะบูโหลน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่ที่สำคัญซึ่งมีประชาชนประกอบอาชีพประมงหาปลาหรือสัตว์น้ำเช่นเดียวกับชาวเลเกาะหลีเป๊ะ โดยคุณลักษณะทางประชากรด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เป็นชุมชนชาวเล(ชาวอูรักลาโว้ย) มากกว่าร้อยละ 90 โดยมีการอพยพไปมาระหว่างเกาะบูโหลน เกาะหลีเป๊ะ จากสถิติข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ พ.ศ. 2562 รพ.สต.บ่อเจ็ดลูก มีรายงานพบผู้ป่วยโรคน้ำหนีบบนเกาะบูโหลน จำนวน 1 ราย อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีข้อจำกัดของข้อมูลที่จะบ่งชี้ถึงสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบของชาวเลดังกล่าว ด้วยสาเหตุหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะทางประชากรด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ความเชื่อ ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองยังไม่ดีพอ อัตราการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพยังต่ำมากด้วยข้อจำกัดเรื่องการเดินทางลำบาก และยังไม่มีหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขบนพื้นที่เกาะบูโหลน ที่มีศักยภาพในการตรวจคัดกรองโรคน้ำหนีบเบื้องต้นได้ แต่ด้วยความรุนแรงอาการของโรคน้ำหนีบ มีความอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการดูและรักษาอย่างถูกต้อง ประกอบกับกลุ่มชาวเลเกาะบูโหลนซึ่งเป็นคนกลุ่มพื้นเมือง อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้การเข้าถึงข้อมูลในการป้องกันตนเองจากภัยสุขภาพของการประกอบอาชีพยังมีอยู่น้อยดังนั้น มีความจำเป็นที่หน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินพัฒนาการเฝ้าระวังสุขภาพของกลุ่มชาวเล จากการประกอบอาชีพดำน้ำลึกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการเฝ้าระวังและป้องกันโรคน้ำหนีบของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อช่วยลดสถานการณ์ความรุนแรงของการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต และอีกทั้งเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันและสร้างระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมนพื้นที่เกาะบูโหลนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อจัดทำสถานการณ์และพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบของชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลน

ได้ชุดข้อมูลสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงขนาดของปัญหาภัยสุขภาพในกลุ่มชาวเลผู้ประกอบอาชีพประมงและประชาชนกลุ่มเสี่ยง

0.00
2 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสม.และแกนนำชุมชนในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบในกลุ่มชาวเลและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลน

ร้อยละ 70 ของแกนนำชุมชน อสม. มีความรู้ ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยหรือคนกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบเบื้องต้นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 74,960.00 0 0.00
??/??/???? จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างความตระหนักรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบในพื้นที่ชุมชนเกาะบูโหลน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อสม. โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 25,400.00 -
??/??/???? จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอสม./แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง การสื่อสารความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ อสม. และแกนนำชุมชน 0 25,400.00 -
??/??/???? อสม./แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ดำเนินการ implement เชิงรุกในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงฯโรคน้ำหนีบ 0 24,160.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 แกนนำชุมชน อสม. และประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบ
2 อสม. แกนนำชุมชน มีแนวทางการดำเนินงานเพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำหนีบในกลุ่มชาวเลและประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2562 00:00 น.